ข่าวการศึกษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยไทย

ข้อแตกต่างระหว่าง มหาวิทยาลัยไทย กับมหาวิทยาลัยญี่ปุ่น

Home / วาไรตี้ / ข้อแตกต่างระหว่าง มหาวิทยาลัยไทย กับมหาวิทยาลัยญี่ปุ่น

ทุกคนเคยสงสัยไหมคะว่า มหาวิทยาลัยในต่างประเทศนั้นมีระบบการเรียนอย่างไร เหมือนหรือต่างกับเราไหม วันนี้เราก็มีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นมาฝาก เปรียบเทียบกันให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง มหาวิทยาลัยไทย กับมหาวิทยาลัยญี่ปุ่น แต่จะแตกต่างกันในเรื่องไหนบ้างก็ต้องมาดูกัน

มหาวิทยาลัยไทย กับมหาวิทยาลัยญี่ปุ่น ต่างกันยังไง?

ข้อแตกต่างระหว่างมหาวิทยาลัยทั้ง 2 ประเทศ นั้นก็มีหลากหลายประเด็น แต่หลักๆ ถ้าเป็นเรื่องของการเรียน ก็จะมีข้อแตกต่างกันที่เห็นได้ชัดอยู่ประมาณ 5 ข้อดังนี้

1. ญี่ปุ่นไม่มียูนิฟอร์มชุดนักศึกษา

อย่างที่ทุกคนคุ้นชิน มหาวิทยาลัยไทยส่วนมากจะต้องใส่ยูนิฟอร์มชุดนักศึกษาไปเรียน มีไม่กี่มหาวิทยาลัยที่ให้ใส่ชุดไปรเวทไปเรียนได้ หรือในบางคณะที่อนุญาตให้ใส่เสื้อช็อป ไม่ต้องใส่ชุดนักศึกษาเข้าเรียนได้ แต่ที่ประเทศญี่ปุ่น พอเข้ามหาวิทยาลัยมาก็ไม่มียูนิฟอร์มแล้ว การแต่งตัวก็ใส่ชุดไปรเวทที่สุภาพมาเรียน

2. ตัดเกรดสูงสุดที่ S

ระบบคัดเกรกของมหาวิทยาลัยไทยจะตัดเกรดสูงสุดที่ A เทียบเท่ากับเกรด 4 แต่ที่ญี่ปุ่นจะมีเกรดที่เหนือไปกว่าเกรด A นั่นก็คือเกรด S ตัวอย่างการแบ่งก็อย่างเช่น เกรด S = 90 คะแนนขึ้นไป ,A = 89-80 คะแนน ,B = 79-70 คะแนน ,C = 69-60 คะแนน ซึ่งถือว่า ผ่าน ส่วน D และ E = ต่ำกว่า 59 คือไม่ผ่าน แต่มหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นก็ไม่ได้ใช้สัญลักษณ์ในการตัดเกรดเหมือนกันทุกมหาวิทยาลัย บางมหาวิทยาลัยอาจจะใช้เป็น AA ,A ,B ,C เป็นต้น

3. ญี่ปุ่นไม่มีการรับน้อง

กิจกรรมที่มหาวิทยาลัยไทยขาดไม่ได้ ถือเป็นประเพณี เป็นสีสันของชีวิตมหาวิทยาลัยไปแล้วนั่นก็คือ การรับน้อง ในขณะที่ญี่ปุ่นจะไม่มีการรับน้อง แต่มีวัน Guidance (ガイダンス) แทน ซึ่งในวันนั้นจะมีอาจารย์มาพูดเกี่ยวกับวิธีลงเรียน มีรุ่นพี่มาแนะนำชมรมของคณะ

4. ไม่มีหลักสูตรบังคับฝึกงาน

ตามหลักสูตรการเรียนของมหาวิทยาลัยไทย มีทั้งแบบบังคับฝึกงาน และไม่บังคับฝึกงาน บางที่สามารถเลือกทำโปรเจกต์พิเศษแทนได้ หรือบางที่อาจจะโดนบังคับทั้งฝึกงาน และต้องทำโปรเจกต์จบด้วย แต่ที่ญี่ปุ่นจะไม่มีการบังคับฝึกงานในหลักสูตร นักศึกษาสามรถฝึกงานได้ตั้งแต่อยู่ปี 1 จนถึงปี 4 เลย ซึ่งการฝึกงานก็มีตั้งแต่ 1 วัน – 3 เดือน และถึงแม้ว่าหลักสูตรญี่ปุ่นจะไม่บังคับ แต่เด็กญี่ปุ่นส่วนมากก็ฝึกงานกัน เพราะเวลาเขียน Resume สมัครงาน นอกจากจะเขียนเรื่องชมรม และงานพาร์ทไทม์แล้ว การเขียนประสบการณ์ฝึกงานลงไปด้วยก็ทำให้มีโอกาสได้งานมากขึ้น

5. เริ่มหางานตั้งแต่ปี 4

ถ้าเป็นนักศึกษาไทยระยะเวลาการเริ่มหางานจะมีหลากหลาย แต่ส่วนมากก็จะเริ่มหางานช่วงปี 4 เทอม 2 ที่ใกล้จะเรียนจบ หรือหางานทำหลังจากที่เรียนจบแล้ว แต่นักศึกษาญี่ปุ่นจะเร่งเรียนให้จบภายใน 3 ปี ส่วนปีที่ 4 จะเอาไว้สำหรับหางานกันอย่างจริงจัง

ที่มา ilovejapan

บทความแนะนำ