วิชาป้องกันตัวจากศาสตร์มืด วิชาแปลก สาธิต สาธิตจุฬาฯ

4 คาถาที่จะได้เรียนใน “วิชา ป้องกันตัวจากศาสตร์มืด” ร.ร.สาธิตจุฬาฯ

Home / วาไรตี้ / 4 คาถาที่จะได้เรียนใน “วิชา ป้องกันตัวจากศาสตร์มืด” ร.ร.สาธิตจุฬาฯ

วันที่ 29 พฤษภาคม 2566 ทางเพจ “สังคมศึกษา โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม” ได้โพสต์ชี้แจง กรณีมีชาวเน็ตสอบถามกันเข้ามามากว่า วิชาการป้องกันตัวจากศาสตร์มืด ที่เรียนในชั้น ม.5 เรียนอะไรบ้าง

วิชาป้องกันตัวจากศาสตร์มืด

โดยระบุว่า

ส32244 การป้องกันตัวจากศาสตร์มืด ม.5 (Protect yourself from social dangers) 2 คาบ/สัปดาห์

มี inbox เข้ามาเยอะมากว่าวิชานี้เรียนอะไร วิชานี้เกิดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2564 ครับ เป็นวิชาเลือกเสรี ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ ในกลุ่มส่งเสริมสมรรถนะการจัดการตนเอง ซึ่งประกอบด้วย

  • วิชา ปรัชญาเพื่อการดำรงชีวิต
  • วิชา กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต
  • วิชา ศาสตร์ความสุขและการมองโลก
  • วิชา มนุษย์สัมพันธ์
  • วิชา ติดอาวุธทางใจด้วยวิถีพุทธ

ทำไมถึงเกิดวิชานี้

ปัจจุบันการสร้าง #ภูมิคุ้มกันทางสังคม แก่เยาวชนเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก จะทําอย่างไรให้สามารถป้องกันและจัดการตนเองเพื่อใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ในยุคที่สังคมเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน แปรปรวน #นำความรู้มาใช้ในทางที่ผิดหรือเอาเปรียบผู้อื่น ไม่ตกเป็น #เหยื่อของอารมณ์และความเครียด ของตนเองและผู้อื่น เรียนรู้วิธีการปฏิเสธ และการป้องกันตนเองจากการ #ถูกกลั่นแกลงและคุกคามในทุกรูปแบบ การรู้ทัน #สื่อและข่าวสารในทางเท็จ #การถูกโกงในรูปแบบต่าง ๆ และการถูกชักชวนในทางที่ไม่ควร

วิชาป้องกันตัวจากศาสตร์มืด

วิชานี้สอนอะไร

การฝึกฝนให้รู้จักตน ความคิดและอารมณ์ การสร้างความเข้มแข็งในอารมณ์จากภาวะวิกฤติการเรียนรู้ความผิดหวังท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง การยับยั้งชั่งใจและการจัดลําดับความสําคัญของชีวิต การรับฟังด้วยใจ จะช่วยให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอยIางมีความสุข

วิชานี้วัดผลอย่างไร

การสร้างหรือจำลองสถานการณ์เรื่องราวต่างๆ เพื่อให้นักเรียนแสดงความรู้สึก ว่าตนเองจะกระทำ หรือมีความคิดเห็นอย่างไรต่อสถานการณ์ที่กำหนดขึ้น

4 คาถาที่นักเรียนจะได้เรียนใน วิชาป้องกันตัวจากศาสตร์มืด

วิชานี้มุ่งพัฒนาผลลัพธ์ผู้เรียน 2 ประการ

  1. นักเรียนรู้จักตนเอง เท่าทัน ควบคุมและจัดการความคิด อารมณ์ความรู้สึก ความเครียดของตนเอง ปรับตัวต่อสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น การจัดลำดับความสำคัญและวางแผนชีวิต มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม
  2. นักเรียนรู้จักตนเอง รักและเห็นคุณค่าในตัวเองและผู้อื่น รับฟัง ยอมรับผู้อื่น และสามารถทำงานหรืออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ จัดการปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ปกป้องตนเองจากภัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งภายในตนเองและภายนอก ได้อย่างมีวิจารณญาณ

ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ 4 บท ได้แก่

บทที่ 1 “คาถาพินิจใจ”
เรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารและการรับฟัง การรู้จักตนเอง การตระหนักรู้คุณค่า การยอมรับตนเอง การจัดการอารมณ์และความเครียด การมอบมุมกลับปรับมุมมอง การรู้เป้าหมาย การลำดับความสำคัญและการวางแผนชีวิต

บทที่ 2 “คาถาสะกดใจ”
เรียนรู้เกี่ยวกับการตระหนักรู้ผู้อื่น การรับฟังอย่างไม่ตัดสิน การทำงานร่วมกับผู้อื่น

บทที่ 3 “คาถาคุ้มครอง”
เรียนรู้กระบวนการจัดการความขัดแย้ง และทักษะการต่อรองและการปฏิเสธ

บทที่ 4 “คาถาผู้พิทักษ์และคาถาต่อกร”
เรียนรู้การป้องกันและจัดการตนเองจากการถูกกลั่นแกล้ง การป้องกันตนจากข่าวสารในการเท็จ การป้องกันการถูกโกง การปกป้องตนจากการถูกชักชวนในทางที่ไม่ควร การตัดสินใจอย่างมีจริยธรรม

ที่มา สังคมศึกษา โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม

บทความแนะนำ