สายศิลป์ อ่านหนังสือสอบ เคล็ดลับการอ่านหนังสือ เคล็ดลับการเรียน

หลักการอ่านหนังสือเตรียมสอบ สายศิลป์ | สำคัญคือการจำไวยกรณ์ ไม่ได้ท่องจำสูตร

Home / วาไรตี้ / หลักการอ่านหนังสือเตรียมสอบ สายศิลป์ | สำคัญคือการจำไวยกรณ์ ไม่ได้ท่องจำสูตร

หลายคนสงสัยทำไมต้องเฉพาะสายศิลป์ ก็เพราะสายศิลป์ท่องจำไวยกรณ์ ไม่ได้ท่องจำสูตร การอ่านของสายศิลป์คือการอ่านบ่อยๆ ให้ค่อยๆ ซึมเข้าไปในหัว ไม่ใช่ท่องจำถึงที่มาที่ไปของสูตร และอีกอย่างวิธีเหล่านี้ใช้ไม่ได้ในเด็กสายวิทย์ – หลักการอ่านหนังสือเตรียมสอบ สายศิลป์

หลักการอ่านหนังสือเตรียมสอบ สายศิลป์

กิน

1.กิน… ถ้าในระหว่างนี้คุณยังกลัวความอ้วนอยู่ ขอแนะนำให้ปิดหน้าต่างนี้ไปเลย ไม่ใช่ขยับปากเคี้ยวแล้วจะคิดออกนะ -*- แต่สมอง (ซึ่งถูกคุณใช้งานอย่างหนัก) – ก็ต้องการสารอาหาร ควรจะเป็นของหวาน (แนะนำช็อคโกแลต) คุณลองกินสิ จะรู้สึกมีพลังขึ้นมาอีก 25% และก็กินเข้าไปเลย กินๆๆ ไม่เปนไร เอนท์ติดแล้วเราลดได้ นอกจากนี้ สมองยังต้องการการผ่อนคลาย ซึ่งจะกลายเป็นหัวข้อที่ 2

สุขภาพจิต

2.สุขภาพจิตดี… ถ้าคุณเครียดทั้งวันทั้งคืน หนำซ้ำพ่อแม่ยังนั่งเฝ้า …ตี 2 คุณเริ่มฟุบ พ่อคุณถามว่า “จะนอนแล้วหรอ?” …หัวคุณก็จะหมกมุ่นอยู่กับความอึดอัด ความแค้น(ทำไมกูต้องเอนท์ด้วยวะ) ในขณะที่สายตาของคุณกวาดไปมา และสมองคุณเกร็งอย่างแรง กลับจำอะไรไม่ได้เลย คุณคิดว่าคุณเครียดแล้วจะอ่านหนังสือได้เยอะงั้นหรือ…เปล่าเลย คุณโกหกตัวเอง เหมือนเอาเชือกมารัดหัวแล้วบอกตัวเองว่า ฉันอ่านหนังสือหนักจนปวดหัวเลยนะเนี่ย…ข้อนี้แนะนำให้กินน้ำ ล้างหน้าบ่อยๆ ออกไปเดินเล่นซัก 10 นาทีคงไม่ทำให้คุณสอบตก แลกกับการชาร์จพลังสมอง…คุ้มนะ

สมาธิ

3.สมาธิ.. อย่าดูถูกวิธีโบราณ มันช่วยได้จริง…ก้อการนั่งสมาธิไงล่ะ ลองเปิดเพลงไปด้วย ถ้าคุณมีสมาธิจริงคุณจะไม่ได้ยินเสียงเพลงเลย (ไม่ใช่นั่งไปคิดไป เมื่อไหร่เพลงจะหาย..ยังงี้ไม่ได้นะคะ เพราะเท่ากับคุณนั่งฟังเพลง) คิดว่าเรามีลูกแล้วอยู่ในร่างกาย แล้วมันวิ่งขึ้นวิ่งลงช้าๆ ไปเรื่อยๆ

เคยอ่านข้อสอบรอบนึง แล้วไม่รู้ว่าข้อสอบถามอะไรมั้ย นั้นล่ะ คุณกำลังขาดสมาธิ หายใจเข้า-ออกยาวๆ และพยายามทบทวนอยู่เสมอว่า เมื่อกี้เราคิดอะไรอยู่ ให้จดจ่อกับเรื่องที่อ่านไปเรื่อยๆ อย่าให้เส้นสมองขาดตอนนะคะ

กำลังใจ

4.กำลังใจ… ถ้าใน 3 ข้อแรก คุณทำอะไรไม่สำเร็จเลย แปลว่าคุณขาดกำลังใจ ขาดแรงฮึดสู้ หรือง่ายๆว่า คุณไม่อยากเอนท์ มีหลายสาเหตุ

– เข้าที่ไหนก็ได้…อย่าโกหกตัวเอง เพียงเพราะว่าคุณเป็นคนขี้เกียจ ใครๆก็อยากเอนติดกันทั้งนั้น คุณบอกว่าคุณไม่หวัง คุณบอกว่าคุณขี้เกียจอ่านและไม่เอาอะไรแล้วในชีวิตดีกว่า จริงอยู่ เอน..ไม่ใช่ทุกสิ่ง แต่เมื่อคุณีโอกาส ทำไมไม่ตั้งใจทำให้มันดี

– ประชดคนบางคน… โถๆๆ อย่าเอาคนอื่นมาตัดสินชะตาชีวิตตัวเองแบบนี้เป็นอันขาด ไม่ว่าแม่คุณจะประกาศแก่แม่ค้าทั้งตลาดว่าคุณไม่มีทางเอนติด หรือ พร่ำหวังให้คุณติด มหิดล-จุฬา ทั้งสองอย่างทำให้คุณหดหู่จนไม่อยากทำให้เขาสมน้ำหน้าคุณอย่าไปสนใจดีกว่า…บอกแล้วไง คุณทำเพื่ออนาคตคุณเอง เปลี่ยนแรงกดดันนั้นให้เป็นแรงฮึดสู้…(กูจะติดแพทย์ศิริราชให้ดู..ว่างั้น)

ยังไงก็แล้วแต่ คุณต้องอ่านเยอะๆ อ่านหลายๆ รอบ อ่านจนสามารถพูดสรุปออกได้เป็นฉากๆ ไม่ใช่ท่องจำ แต่มันคือการฝังลงไปในหัวที่พร้อมจะเรียกใช้เมื่อไหร่ก็ได้ อย่าไปมัวท่อง(ขอเน้น..อย่า!!!) อ่านบ่อยๆเท่านั้นที่ช่วยได้ อ่านครั้งแรกคุณจะรู้สึกสมองโล่งและคิดในใจว่า คุณจะจำได้ซักกี่คำกัน แต่ครั้งที่ 2 เฮ้ย!! คำนี้มันคุ้นๆ (หลังจากนั้นไปตามหาว่ามันแปลว่าไร ขอย้ำ!! ไม่ต้องท่อง) ครั้งที่ 3 คุณจะจำได้เองอย่างไม่น่าเชื่อ…สาธุ

สำหรับคนที่เรียนพิเศษแล้วไม่เข้าใจ…

ฉันเองก็เคยสอนพิเศษ สามารถบอกได้เลย คนที่ไม่ฟัง เอาแต่จด เอาแต่อ่านในหนังสือน่ะ พลาดโอกาสอันดีไปนะ เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่อยู่ที่ปากคนสอน คุณจะเข้าใจมั้ยก้ออยู่ที่คนสอน เช่นเวลาไปเรียนแบรนด์ บางคนนั่งอ่านในหนังสือแล้วคิดว่า เค้าพูดถึงไหนแล้ว…กว่าจะคิดได้ว่าที่เขาพูดไม่มีในหนังสือ คุณก็จดไม่ทันแล้วล่ะ หนังสือนั่นน่ะมันไม่ไปไนหรอก คุณจะอ่านเมื่อไหร่ก็ได้ คุณจะเอาเวลาว่างมาท่องทั้งเล่มก็ไม่มีใครว่า

ในเวลาเรียนพิเศษ

**ถ้าเป็นไปได้เวลาเรียนพิเศษ ฟังที่อาจารย์พูด ฟังทุกคำ ไม่ใช่เหม่อลอยคำที่ 2 กลับมาฟังอีกทีคำที่ 8 …ชาติหน้าตอนบ่ายๆ คงเข้าใจ แต่ก็ไม่ใช่ฟังแล้วเขี้ยนตามคำบอก…จงฟังแล้วคิด แล้วเขียนอย่างที่ตัวเองเข้าใจ เมื่อจบคอร์สเอามาเรียบเรียงให้เป้นภาษาคน  แล้วอ่านซ้ำ (หลายๆรอบ เอาให้จำได้) เราจะรู้ได้เลยว่า อ๋อ บรรทัดนี้ อาจารย์เค้าสอนไว้ว่าไงบ้าง **

…ขอแนะนำขั้นสุดท้ายว่า ม.5 เทอม 2 ควรจะเรียนพิเศษให้เสร็จ (ในกรณีที่เอนครั้งเดียวเดือนกุมภา) พอขึ้นม.6ก็ควรจะเริ่มจำที่เรียนๆ มาได้แล้ว อย่าหวังว่าจะไปอ่านที่โรงเรียน มันไม่สามารถอ่านจนจับประเด็นได้เลย เว้นแต่จะเอาเลขไปทำเล่นๆ แต่ถ้าอีก 3 เดือนแล้วไม่มีไรในหัวเลย ขอแนะนำให้ทำข้อสอบย้อนหลักซัก 15 ปี ส่วนคนที่อ่านพร้อมแล้วทำ 7 ปีก้อพอ…

ที่มา Fwd mail.

บทความแนะนำ