การรับน้อง รับน้องผิดกฎหมาย

รับน้องแบบไหนผิดกฎหมาย เกินกว่าเหตุ – 6 กฎหมายการรับน้องที่ควรรู้

Home / วาไรตี้ / รับน้องแบบไหนผิดกฎหมาย เกินกว่าเหตุ – 6 กฎหมายการรับน้องที่ควรรู้

จากที่มีประเด็นข่าว คดีรุ่นพี่ปี่ 3 ซ้อมรุ่นน้อง ปี 1 จนม้ามแตก โดยอ้างว่าต้องการคุมน้องปี 1 ให้อยู่ (คลิกอ่านข่าวเพิ่มเติม) สะท้อนถึงปัญหาความรุนแรง และการทำเกินกว่าเหตุที่ผิดกฎหมาย Campus-star ขอนำเรื่อง กฎหมายการรับน้องมาให้ทุกคนได้อ่านกันอีกรอบ โดย พ.ต.ท.หญิง อัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติและจิตแพทย์โรงพยาบาลตำรวจ ได้เคยประกาศไว้ดังต่อไปนี้ค่ะ

6 กฎหมายการรับน้อง ที่รุ่นพี่รุ่นน้องต้องรู้

1. การรับน้องด้วยระบบโซตัส (Sotus)

การรับน้องด้วยระบบโซตัส หรือ “การว้าก” ใส่รุ่นน้อง ตามกฎหมายอาญามาตรา 392 ผู้ใดทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัว หรือความตกใจ โดยการขู่เข็ญ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. การบังคับให้น้องเข้าร่วม โดยกระทำเกินเหตุ

บังคับให้เข้าร่วม เกิดเหตุ เช่น การป้อนฟักทองบดด้วยแปรงขัดส้วม ตามกฎหมายอาญามาตรา 309 ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเองหรือของผู้อื่น หรือโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้น ไม่กระทำการนั้นหรือจำยอมต่อสิ่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. หากรุ่นน้องต้องการกลับแต่รุ่นพี่ไม่ให้กลับ

ในการทำกิจกรรมรับน้อง หากรุ่นน้องต้องการกลับ แต่รุ่นพี่ไม่ให้กลับ ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี

4. รุ่นพี่ลงไม้ลงมือกับรุ่นน้อง

หากรุ่นพี่มีการใช้กำลัง หรือลงไม้ลงมือกับรุ่นน้องทำให้ได้รับอันตราย ตามกฎหมายอาญามาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

5. รุ่นพี่รับน้องจนบาดเจ็บสาหัส

หากรุ่นพี่ลงไม้ลงมือจนรุ่นร้องได้รับบาดเจ็บสาหัส ตามกฎหมายอาญา มาตรา 300 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

6. รุ่นน้องเสียชีวิต

และถ้าหาก การรับน้องมีตวามรุนแรงถึงขั้นรุ่นน้องเสียชีวิต ตามกฎหมายอาญา มาตรา 291 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท

นอกจากนี้ พ.ต.ท.หญิง อัญชุลี ยังบอกด้วยว่า “ตามประมวลกฎหมายอาญานั้น หากจะดำเนินคดีตามกฎหมายได้ น้องๆ หรือผู้ปกครองจะต้องแจ้งความเอาผิดกับรุ่นพี่ที่ลงโทษเกินกว่าเหตุ แต่บางกิจกรรมอาจเป็นข้อตกลงระหว่างรุ่นพี่-รุ่นน้อง และอยู่ในการควบคุมดูแลของมหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นบททดสอบในการก้าวเป็นรุ่นพี่ เพื่อทำหน้าที่ดูแลรุ่นน้องในรุ่นต่อไป”

ที่มา: SocialMsociety (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)

บทความแนะนำ