ข่าวการศึกษาญี่ปุ่น นักเรียนญี่ปุ่น ปัญหาการฆ่าตัวตายของญี่ปุ่น สถิติการฆ่าตัวตาย

รัฐบาลญี่ปุ่นเผย สถิติเยาวชนฆ่าตัวตาย พุ่งสูงสุดในรอบ 30 ปี – สาเหตุห่วงอนาคต ถูกกลั่นแกล้ง

Home / วาไรตี้ / รัฐบาลญี่ปุ่นเผย สถิติเยาวชนฆ่าตัวตาย พุ่งสูงสุดในรอบ 30 ปี – สาเหตุห่วงอนาคต ถูกกลั่นแกล้ง

นับว่าเป็นข่าวที่ชวนให้เราคิดกันไม่ได้เลยว่า ทำไมนักเรียนชั้นประถมศึกษาและชั้นมัธยมศึกษาของญี่ปุ่นจึงมีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มมากขึ้น โดยรัฐบาลของญี่ปุ่นได้ทำการเปิดเผยข้อมูลว่า ระหว่างปี 2016-2017 ที่ผ่านมานั้น มีนักเรียนชั้นประถมและชั้นมัธยมก่อเหตุฆ่าตัวตายถึง 250 คน ซึ่งถือได้ว่าเป็นสถิติที่มากที่สุดในรอบ 30 ปี

ญี่ปุ่นวิกฤต สถิติเยาวชนฆ่าตัวตาย พุ่งสูงสุดในรอบ 30 ปี

จากรายงานได้มีการระบุว่า ปัญหาการฆ่าตัวตายยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่ญี่ปุ่นกำลังเร่งหาทางแก้ไขอยู่ ถึงแม้ว่าอัตรการฆ่าตัวตายในภาพรวมจะมีแนวโน้มที่ลดลง โดยในปี 2560 ที่ผ่านมาได้ลดเหลืออยู่ที่ 21,231 คน จากตัวเลขการฆ่าตัวตายที่สูงที่สุดในปี 2546 ซึ่งมีอัตราการฆ่าตัวตายของชาวญี่ปุ่นรวมทั้งประเทศอยู่ที่ 34,427 คน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการฆ่าตัวตายของเด็กนักเรียนและเยาวชนกลับมีอัตราเพิ่มมากขึ้นอย่างสวนทางกัน

ญี่ปุ่นวิกฤต สถิติเยาวชนฆ่าตัวตาย พุ่งสูงสุดในรอบ 30 ปี

นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นยังได้เปิดเผยผลการสำรวจในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจำนวน 250 แห่งทั่วประเทศ ในช่วงปี 2559-2560 ซึ่งได้เริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน (เป็นวันเปิดภาคเรียนใหม่) ตัวเลขที่ได้มากลับทำให้เป็นที่น่าตกใจเป็นอย่างมาก เพราะอัตรการฆ่าตัวตายของเด็กนักเรียนและเยาวชนเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และกลุ่มที่มีการฆ่าตัวตายมากที่สุดก็คือ นักเรียนชั้ยมัธยมศึกษาตอนปลาย

สำหรับ สถิติล่าสุด! ยังแสดงให้เห็นว่า อัตราการฆ่าตัวตายในปี 2559-2560 เพิ่งสูงขึ้นเป็น 5 เท่า และเป็นตัวเลขที่มากที่สุดในรอบ 30 ปี เมื่อเทียบกับปี 2529 ที่มีเด็กและเยาวชนฆ่าตัวตายเพียง 268 คนเท่านั้น

โดยปัจจัยส่วนใหญ่ที่ทำให้เด็กและเยาชนคิดฆ่าตัวตายก็คือ เกิดจากความเป็นห่วงเกี่ยวกับอนาคต, การถูกกลั่นแกล้งหรือถูกรังแกในโรงเรียน, ปัญหาครอบครัว, ความเครียดต่าง ๆ ที่เด็ก ๆ ต้องพบเจอ และยังมีการฆ่าตัวตายที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด อีกด้วย

#เรื่องเล่ารอบโลก สถิติฆ่าตัวตายเด็กญี่ปุ่นพุ่งสูงสุดรอบกว่า 30 ปี

Link : seeme.me/ch/mono29news/9aE6LA

ทั้งนี้ สำนักข่าว CNN ยังได้สัมภาษณ์ นานาเอะ มุเนะมาสะ เด็กนักเรียนที่เคยคิดฆ่าตัวตายมาแล้วเมื่อตอนเรียนอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษา โดยเธอได้เล่าย้อนกลับไปว่าในขณะที่เธอเป็นนักเรียนชั้นมัธยมปลาย วัย 17 ปี เด็กที่ต้องตกเป็นเหยื่อในการถูกกลั่นแกล้งหรือถูกรังแกในโรงเรียนนั้น ช่วงเวลาปิดเทอมภาคฤดูร้อนคือช่วงที่มีความสุขมากที่สุด เปรียบเสมือนได้ขึ้นสวรรค์เลย เพราะจะได้พักผ่อนอยู่ที่บ้านกับครอบครัว ไม่ต้องไปเจอเรื่องร้าย ๆ ที่โรงเรียน

แต่เมื่อฤดูร้อนได้สิ้นสุดลงและถึงเวลาเปิดเทอม ความสุขที่เคยมีมาก็จะหมดลงไปในทันที ความวิตกกังวลก็จะกลับมาอีกครั้ง รวมถึงความหวาดระแวงที่กลัวว่าจะถูกกลั่นแกล้งอะไรอีกหรือไม่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เด็ก ๆ หลายคนเลือกที่จะจบชีวิตของตัวเองลง

ซึ่งเธอก็เป็นหนึ่งในเด็กที่ถูกกลั่นแกล้งอย่างหนักและคิดฆ่าตัวตายมาแล้ว แต่เธอสามารถที่จะตั้งสติได้ พร้อมทั้งตัดสินใจที่จะออกมาเปิดเผยความจริงทั้งหมด และช่วยเหลือเด็กคนอื่น ๆ ที่เคยเจอประสบการณ์อันเลวร้ายนี้มาให้สามารถก้าวผ่านมันไปให้ได้

ญี่ปุ่นวิกฤต สถิติเยาวชนฆ่าตัวตาย พุ่งสูงสุดในรอบ 30 ปี

โนริอากิ คิตาซากิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่น ได้เปิดเผยว่า การเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายของเด็กและเยาวชนญี่ปุ่น กำลังมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างน่าตกใจ และสถิติเหล่านี้ก็เป็นสัญญาเตือนครั้งใหญ่ว่าญี่ปุ่นจะต้องเร่งแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจังกว่าเดิมแล้ว

ทางด้าน โคจู มัตสึบายาชิ เจ้าหน้าที่กระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่น ได้กล่าวว่า ในแต่ละปีจะมีเด็ก ๆ มากมายหลายร้อยคนที่ตัดสินใจจบชีวิตตัวเองลงโดยการฆ่าตัวตาย ทั้งนี้ทางกระทรวงศึกษาธิการพยายามเป็นอย่างมากที่จะยับยั้งไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรมเลวร้ายแบบนี้ขึ้นอีก

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การสอนและให้ความรู้กับเด็ก ๆ ว่าเมื่อใดก็ตามที่เขามีปัญหาหรือประสบกับปัญหาอันเลวร้าย ให้เขาขอความช่วยเหลือหรือปรึกษากับครอบครัว โรงเรียน ให้เร็วที่สุด เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาต่อไป เพราะถ้าเด็ก ๆ ไม่ได้รับการช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา สุดท้ายแล้วก็จะมาสู่การจบชีวิตตัวเองลงเพื่อหลีกหนีจากความทุกข์ที่พวกเขาจะต้องเผชิญนั่นเอง

ญี่ปุ่นวิกฤต สถิติเยาวชนฆ่าตัวตาย พุ่งสูงสุดในรอบ 30 ปี

โดยในปี 2559 ที่ผ่านมา รัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกมาตรการระยะยาว 10 ปี ตั้งเป้าหมายว่าจะลดอัตราการฆ่าตัวตายของเด็กและเยาวชนให้ได้ 30 % ภายในปี 2569 มีแนวทางการแก้ไขปัญหาหลายรูปแบบด้วยกันหนึ่งในนั้นก็คือ การจัดตั้งที่ปรึกษษพิเศษประจำโรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและชั้นมัธยมศึกษา เพื่อให้คอยสอดส่องดูแลและคอยรับฟังปัญหาของเด็ก ๆ พร้อมทั้งยังได้มีการเปิดบริการสายด่วนที่จะคอยให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง อีกด้วย

** สำหรับปัญหาการฆ่าตัวตายไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่เฉพาะที่ญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ในประเทศอื่น ๆ ก็ประสบปัญหานี้เช่นกัน โดยข้อมูลจากการสำรวจขององค์การอนามัยโลก ปี 2559 ที่ผ่านมา พบว่า อัตราการฆ่าตัวตายของประเทศเกาหลีใต้มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่าญี่ปุ่นถึง 26.9 % ต่อจำนวนประชากร 100,000 คน ขณะที่ญี่ปุ่นมีตัวเลขอยู่ที่ 18.5 % และประเทศไทยมีอัตรการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 14.4 % ซึ่งสาเหตุหลักของปัญหานี้ก็คือ ความเครียมสะสม นั่นเอง

ที่มา : www.bbc.comhttps://edition.cnn.comhttps://thematter.co/www.japantimes.co.jp

บทความที่น่าสนใจ