นับว่าเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยไทย สำหรับ 7 หลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ผ่านการรองรับจากเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (ASEAN University Network Quality Assurance: AUN-QA)
7 หลักสูตรได้รับรองคุณภาพระดับเซียน ม.มหิดล
ซึ่งการประกันคุณภาพการศึกษา (Quality Assurance) หมายถึง การทำกิจกรรมหรือการปฏิบัติภารกิจหลักอย่างเป็นระบบตามแบบแผนที่ได้กำหนดเอาไว้โดยมีการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Auditing) และการประเมินคุณภาพ (Quality Assessment) จนทำให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพและมาตรฐานของดัชนีชี้วัดระบบและกระบวนการผลิต ผลผลิต และผลลัพธ์ของการจัดการศึกษา
ด้าน ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากข้อมูลของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (ASEAN University Network Quality Assurance: AUN-QA) หลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA จำนวน 7 หลักสูตร ดังต่อไปนี้
1. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์
2. หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
3. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการบริการนานาชาติ (หลักสูตรนานาชาติ) วิทยาลัยนานาชาติ
4. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด
5. หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
6. หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
7. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการระบาดคลินิก (หลักสูตรนานาชาติ) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
ทั้งนี้ การรองรับดังกล่าวนับว่าเป็นก้าวครั้งสำคัญของมหาวิทยาลัยมหิดลที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการนำการศึกษาของไทยสู่การยอมรับในระดับนานาชาติ เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากลสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก
ซึ่งในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาผ่านกรอบมาตรฐานจำนวนมาก อาทิ เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (ASEAN University Network Quality Assurance: AUN-QA) การประกันคุณภาพภายใน (Internal Quality Assurance: IQA) และการประกันคุณภาพภายนอก (External Quality Assurance: EQA)
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับหลักสูตร มหาวิทยาลัยมหิดลใช้ใช้เกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN-QA) รวมถึงการใช้เกณฑ์มาตรฐานเฉพาะสาขาอื่น ๆ เช่น WFME, AACSB, ABET, MUSIQUE, TedQual เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งในประเทศต้องปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานทั้งในระดับประเทศและในภูมิภาคอาเซียน เพื่อสร้างบุคลากรให้สามารถ ประกอบอาชีพได้ สร้างนวัตกรรมเป็น ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง กล่าว….
บทความที่น่าสนใจ
- วิศวกรรมชีวการแพทย์ เรียนเกี่ยวกับอะไร? จบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง?
- 20 มหาวิทยาลัยไทย ติดอันดับ Google Scholar – ถูกอ้างอิงผลงานวิชาการมากที่สุด
- ผลการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยสีเขียวโลก 2018 | มหิดล-เกษตรฯ-จุฬาฯ ติดท็อป 100 อันดับแรก
- อยากเป็น หมอยาโบราณ #ทองเอกหมอยาท่าโฉลง ต้องเรียนด้านไหน? | การแพทย์แผนไทย
- ความแตกต่างหลักสูตร 4 ปี และ 5 ปี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ – ระวังเลือกพลาด!!