เรียนต่อแพทย์ แนะแนวการศึกษา แพทย์

ไม่ได้เรียนจบสายวิทย์-คณิต แต่อยากเรียนต่อแพทย์ ต้องทำอย่างไร?

Home / ข่าวการศึกษา / ไม่ได้เรียนจบสายวิทย์-คณิต แต่อยากเรียนต่อแพทย์ ต้องทำอย่างไร?

สำหรับคำถามที่ว่า เด็กที่ไม่ได้เรียนจบมาในแผนการเรียนวิทย์-คณิต แต่อยากจะสมัครเข้าศึกษาต่อด้านการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็น คณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ และสัตวแพทยศาสตร์ ฯลฯ สามารถทำได้หรือเปล่านั้น ในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ ได้หาคำตอบมาบอกกันแล้วค่ะ

เรียนต่อแพทย์ได้ไหม? ไม่ได้จบสายวิทย์-คณิต

น้อง ๆ ที่ไม่ได้เรียนจบมาในสายวิทย์-คณิตก็สามารถสมัครสอบเข้าเรียนต่อแพทย์ได้ โดยที่น้อง ๆ จะต้องลงสมัครสอบ วิชาความถนัดแพทย์ (กสพท) ซึ่งเป็นรอบการรับสมัครผ่านระบบ TCAS หรือเลือกเรียนต่อแพทย์ในต่างประเทศ โดยการสอบเทียบวุฒิการศึกษา GED (General Educational Development) มีรายละเอียดน่ารู้ดังต่อไปนี้

เรียนต่อแพทย์ได้ไหม? ไม่ได้จบสายวิทย์-คณิต

1. เลือกสอบ กสพท หรือ วิชาความถนัดแพทย์

สำหรับน้อง ๆ ที่เลือกสอบ กสพท หรือ วิชาความถนัดแพทย์ นั้น สัดส่วนคะแนนที่นำมาใช้ในการพิจารณาคือ 30 % ข้อสอบประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้

– ด้านเชาว์ปัญญา เช่น คณิตศาสตร์ อนุกรมเลข อนุกรมภาพ การอ่านจับใจความ เป็นต้น
– ด้านจริยธรรมทางการแพทย์ ซึ่งไม่มีสอนในห้องเรียน
– ด้านทักษะการเชื่อมโยง คล้าย ๆ กับการสอบ GAT แต่จะมีความซับซ้อนมากกว่านิดหน่อย

นอกจากนี้ น้อง ๆ ยังจะต้องใช้ผลคะแนนสอบ 9 วิชาสามัญ (ใช้ 7 วิชา) และ O-NET (ใช้ 5 วิชา) อีกด้วย มีรายละเอียดดังนี้

ผลคะแนน 9 วิชาสามัญ

โดยใช้ผลคะแนนสอบเพียง 7 วิชาเท่านั้น และสัดส่วนคะแนนที่นำมาใช้คือ 70 % ได้แก่
– วิทยาศาสตร์ (แบ่งออกเป็น 3 วิชา ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ) : 40%
– คณิตศาสตร์ 1 : 20%
– ภาษาไทย : 10%
– ภาษาอังกฤษ : 20%
– สังคมศึกษาและวัฒธรรม : 10%

ผลคะแนน O-NET

โดยใช้ผลคะแนนสอบ O-NET 5 วิชา และจะต้องทำคะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 จึงจะผ่านเกณฑ์การพิจารณา วิชาที่ใช้ผลคะแนน ได้แก่

– วิทยาศาสตร์
– คณิตศาสตร์
– ภาษาอังกฤษ
– ภาษาไทย
– สังคมศึกษาและวัฒธรรม

เรียนต่อแพทย์ได้ไหม? ไม่ได้จบสายวิทย์-คณิต

2. เลือกสอบเทียบวุฒิ GED

น้อง ๆ คนไหนที่ไม่ได้เรียนจบสายวิทย์-คณิต แต่อยากเรียนต่อแพทย์ แต่ทั้งนี้ก็ไม่อยากเรียนต่อแพทย์ที่ไทย ก็สามารถเลือกสอบเทียบวุฒิการศึกษา GED (General Educational Development) ได้ เพื่อไปเรียนต่อด้านแพทย์ในต่างประเทศ

อาทิ ในประเทศโปรแลนด์ ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่เปิดรับนักศึกษาที่สอบเทียบวุฒิ GED เนื่องจากวุฒิ GED เป็นการทดสอบคุณสมบัติของการเป็นแพทย์ด้วยเช่นกัน เพราะมีข้อสอบที่เป็นส่วนของการวิเคราะห์ การมองแบบมีมิติสัมพันธ์ แบบทดสอบในเรื่องจริยธรรม แบบทดสอบความคิดเชื่อมโยงที่มีความคล้ายกับข้อสอบ กสพท ฯลฯ หลังจากที่น้อง ๆ ได้รับวุฒิ GED มาแล้ว ขั้นต่อมาก็ต้องทำการสมัครสอบแอดมิชชันเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยโดยตรงอีกด้วยนะ

สาระน่ารู้ส่งท้าย วุฒิ GED คืออะไร

GED (General Educational Development) เป็นการสอบเทียมเท่าระดับวุฒิการศึกษาของชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทย ตามหลักสูตรการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศแคนาดา นั่นก็หมายว่าความว่า ผู้ที่สอบผ่าน GED มีสิทธิ์ที่จะสามารถสมัครเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้

การสอบ GED มีวิชาที่น้อง ๆ จะต้องสอบ 4 วิชาด้วยกัน ได้แก่ 

1. Mathematics Reasoning
2. Social Studies
3. Science
4. Reasoning Through Language Arts (RLA)

ทั้งนี้ในแต่ละวิชาจะมีจำนวนคำถาม 30-50 ข้อด้วยกัน เป็นช้อยเลือกตอบเกือบทั้งหมด ส่วนในวิชา Reasoning Through Language Arts จะแบ่งออกเป็นพาร์ทอ่านและพาร์ทเขียน และในแต่ละวิชาจะมีคะแนนอยู่ที่ประมาณ 200-800 คะแนน

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://liemgthailand.com/, www.admissionpremium.com

บทความที่น่าสนใจ