เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2560 น.ส.ฑิตติมา วิชัยรัตน์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) เปิดเผยว่า “ขณะนี้กองทุน อยู่ระหว่างการจัดทำร่างกฎหมายลูก เพื่อรองรับการดำเนินงาน ตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 ฉบับใหม่ ที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อเร็วๆ นี้ และจะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับ จะเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียน นักศึกษา
กยศ. กับ พรบ. ใหม่
ให้นายจ้างหักเงินเดือน ของผู้กู้ยืมนำส่งสรรพากรได้
ด้วยการเพิ่มการให้กู้ยืมมากลักษณะขึ้นกว่าเดิม” ซึ่งแบ่งเป็น 4 ลักษณะ คือ
1. ขาดแคลนทุนทรัพย์ 2. ศึกษาในสาขาวิชาความต้องการหลักต่อการพัฒนาประเทศ 3. ศึกษาในสาขาขาดแคลนหรือมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ และ 4. เรียนดีเพื่อสร้างความเป็นเลิศ
การติดตามหนี้
“พ.ร.บ.ใหม่ ยังเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของกองทุน โดยเฉพาะในส่วนการติดตามหนี้ ที่เป็นสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ คือได้กำหนดให้องค์กรนายจ้างมีหน้าที่หักเงินได้ที่มาจากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือนค่าจ้างฯ ของผู้กู้ยืมที่เป็นพนักงานลูกจ้าง นำส่งกรมสรรพากรพร้อมกับการนำส่งภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายเพื่อชำระหนี้คืนกองทุน
นอกจากนี้ กองทุนสามารถขอข้อมูลหรือเปิดเผยข้อมูลเท่าที่จำเป็น ของผู้กู้ยืม เพื่อประโยชน์ในการบริหารกองทุนและการติดตามการชำระเงินคืนเท่านั้น ซึ่งกฎหมายใหม่จะช่วยป้องกันความเสี่ยง มิให้ผู้กู้ยืมที่ค้างชำระหนี้ต้องเสียเบี้ยปรับและถูกดำเนินคดี/บังคับคดี
การร่วมมือกันอย่างเป็นระบบ รัฐและเอกชน
เนื่องจากที่ผ่านมา กองทุนมีฐานข้อมูลของผู้กู้ยืมที่ไม่เป็นปัจจุบัน ทำให้ยากต่อการติดต่อสื่อสารและไม่มีมาตรการเชิงบังคับ ในการชำระหนี้ที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ภาพรวมแล้ว พ.ร.บ. ใหม่ฉบับนี้ จะเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนอย่างเป็นระบบ ในการส่งเสริมวินัยทางการเงิน ป้องกันความเสี่ยงของผู้กู้ยืม รวมถึงสร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อเงินกู้ยืมที่นำมาจากงบประมาณแผ่นดิน เพื่อส่งต่อโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียน นักศึกษาในรุ่นต่อไป” ผู้จัดการกยศ.
ที่มา มติชน ออนไลน์