ความแตกต่าง นักเรียน สายสามัญ สายอาชีพ เปรียบเทียบ

เปรียบเทียบ ข้อดี-ข้อเสีย ของการเรียน สายสามัญ VS สายอาชีพ

Home / ข่าวการศึกษา / เปรียบเทียบ ข้อดี-ข้อเสีย ของการเรียน สายสามัญ VS สายอาชีพ

ถ้าจะให้พูดถึงการเรียนในยุคสมัยนี้ ก็มีหลากหลายทางเลือกให้เราได้เลือกเรียนกัน ในสิ่งที่ตนเองชอบหรือสนใจได้ตามที่ต้องการเลย เหมือนกับอย่างในวันนี้ แคมปัส-สตาร์ ก็เลยขอยกตัวอย่าง “การเรียนในสายสามัญและอาชีพ” มาบอกกันว่าทั้งสองอย่างนั้น มีข้อดี-ข้อเสีย แตกต่างกันอย่างไร พร้อมทั้งยังเป็นการสำรวจตนเองอีกด้วยว่า จริงๆ แล้วนั้นเราเหมาะที่จะเรียนในสายไหนมากกว่ากัน

ข้อดี-ข้อเสีย การเรียน สายสามัญ VS สายอาชีพ

ความแตกต่าง สายสามัญ-สายอาชีพ ซึ่งถ้าจะให้เราเปรียบเทียบหลักสูตรและจัดเด่นระหว่าง การเรียนสายสามัญและสายอาชีพ จะเห็นได้ว่าสายสามัญและสายอาชีพมีความแตกต่างกันอยู่หลายอย่างเลยทีเดียว

การเรียนสายสามัญ

เป็นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดเอาไว้ ซึ่งจะให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนใน 8 กลุ่มสาระด้วยกัน และสาระเพิ่มเติม แบ่งออกเป็น

  1. ระดับประถมศึกษาตอนต้น
  2. ระดับประถมศึกษาตอนปลาย
  3. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  4. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

เพื่อเป็นการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถให้ครบทุกด้าน ตามลำดับขั้นและหลักสูตรการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดไว้

ข้อดีของการเรียนสายสามัญ

  1. จะได้ความรู้พื้นฐานทั่วไป มากกว่าสายอาชีพ (เน้นทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติจริง)
  2. สามารถเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเอกชนหรือรัฐบาล
  3. มีโอกาสเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนได้ในต่างประเทศ หรือกิจกรรมอื่นๆ ได้มากกว่าสายอาชีพ

ข้อเสียของการเรียนสายสามัญ

  1. ความรู้เฉพาะด้านอาจไม่แน่นเท่าสายอาชีพ (ในบางกรณี)
  2. เรียนจบ ม.6 ถ้าไม่ต่อปริญญาตรี จะไม่มีความหมายเลย (หางานค่อยข้างยาก)
  3. สายสามัญส่วนใหญ่จะไม่เจอวิชาชีวิต (ประสบการณ์ต่างๆ การเอาตัวรอด หรือการพบเจออะไรหลากหลาย เท่ากับสายอาชีพ)

ข้อดี-ข้อเสีย การเรียน สายสามัญ VS สายอาชีพ

การเรียนสายอาชีพ

หลักสูตร ปวช. คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ เป็นระดับการฝึกวิชาชีพระดับพื้นฐานในงานสายอาชีพนั้นๆ ซึ่งผู้ทีเรียนจบสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพได้

หลักสูตร ปวส. คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เป็นระดับความรู้ที่สูงขึ้นจาก ปวช. โดยเน้นความรู้เฉพาะด้านมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความชำนาญพิเศษมากขึ้น

สำหรับการศึกษาระดับสายอาชีพ สามารถศึกษาต่อได้ถึงระดับสูงสุดเท่ากับการศึกษาสายสามัญ คือ ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ซึ่งเป็นการพัฒนาการศึกษาตามลำดับขั้นสำหรับผู้สนใจศึกษาต่อระดับสูงขึ้นไป เพื่อยกระดับความรู้ความสามารถ โดยนักเรียนที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สามารถเลือกเรียนได้ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ

ข้อดีของการเรียนสายอาชีพ

  1. มีความรู้เฉพาะด้านค่อนข้างแน่น ถ้าคนที่เลือกเรียนต่อในสาขาที่เรียนมา จะได้เปรียบกว่าสายสามัญ เมื่อเข้าไปเรียนในระดับมหาวิทยาลัย
  2. ถ้าไม่เรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ก็ไม่เป็นไร สามารถทำงานได้เลย แถมยังไปสอบราชการก็ได้อีกด้วย

ข้อเสียการเรียนสายอาชีพ

  1. มีข้อจำกัดในการต่อมหาวิทยาลัย เพราะมหาวิทยาลัยหลายๆ แห่ง จะไม่ค่อยมีคณะ/สาขาวิชา ที่เปิดรับเด็กสายอาชีพกันสักเท่าไร

ซึ่งข้อมูลบางส่วนในบทความนี้ อาจจะไม่ตรงกับชีวิตของแต่ละคน เพราะในการเลือกเรียนต่อ ไม่ว่าจะเป็นสายสามัญหรือสายอาชีพนั้น ขึ้นอยู่กับตนเองว่ามีความสนใจในด้านไหนมากกว่ากัน และขึ้นอยู่ความขยัน ตั้งใจเรียนของแต่ละคนด้วยน้า ที่สำคัญที่สุดก่อนที่เราจะตัดสินใจเลือกเรียนในสายไหน ให้ดูตนเองเป็นหลัก อย่าไปตามเพื่อนกันนะ เพราะเรากับเพื่อนอาจจะชอบไม่เหมือนกัน

ที่มา : thewayfortomorrow.blogspot.com

บทความแนะนำ