วิศวกรรมเหมืองแร่ (Mining Engineering) เป็นสาขาวิชาที่มีการประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิศวกรรมหลาย ๆ อย่างเข้ามาเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน เพื่อค้นหา ขุดแยก และจัดการกับแร่ธาตุจากแหล่งธรรมชาติ โดยได้มีการแยกออกเป็นสาขาวิชาย่อย ๆ เช่น การแต่งแร่ การทำเหมืองเปิด การทำเหมืองใต้ดิน การจัดการสิ่งแวดล้อมในงานเหมืองแร่ และวิศวกรรมธรณี เป็นต้น
สาขาน่าเรียน วิศวกรรมเหมืองแร่
น้อง ๆ คนไหนที่กำลังค้นหาตัวเองอยู่ว่าในระดับอุดมศึกษาจะเรียนต่อทางด้านไหน วิศวกรรมเหมืองแร่ ก็เป็นอีกหนึ่งสาขาน่าเรียน ตามมาดูกันเลยว่าสาขานี้จะเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง มีมหาวิทยาลัยไหนบ้างที่เปิดสอน และเรียนจบแล้วสามารถทำงานที่ไหนได้บ้าง
เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง?
ประเทศที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักอย่างรวดเร็ว คือ อุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรกล แรงงาน เงินจำนวนมาก และใช้เทคโนโลยีระดับสูง ก็จะให้ความสำคัญแก่สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่มาก เพราะเป็นสาขาที่จะต้องนำสินแร่และโลหะ มาใช้เป็นวัตถุดิบในการดำเนินงาน
ดังนั้น เมื่อน้อง ๆ ได้เข้ามาเรียนในสาขานี้แล้ว จะต้องเรียนรู้วิชาพื้นฐานตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา หลังจากนั้นก็จะเรียนวิชาทางด้านวิศกรรม เช่น การเขียนแบบทางด้านวิศกรรม, กลศาสตร์วิศวกรรม, กลศาสตร์ของไหล, วัสดุวิศวกรรม, กระบวนการผลิตขั้นพื้นฐาน, ธรณีวิทยาทั่วไป ฯลฯ
เมื่อขึ้นชั้นปีที่สูงขึ้นไปก็จะมีการเรียนวิชาเฉพาะทางมากยิ่งขึ้น เช่น การทำเหมืองและการออกแบบเหมืองผิวดิน, เคมีสำหรับวิศวกรเหมืองแร่และวัสดุ, วิศวกรรมเครื่องกลเบื้องต้น, การทำเหมืองและการออกแบบเหมืองใต้ดิน, การแต่งแร่, ปฏิบัติการวิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น, การสำรวจในงานวิศวกรรมเหมืองแร่, เศรษฐธรณีวิทยา, การประยุกต์ไมโครคอมพิวเตอร์ในงานเหมืองแร่, การวางแผนและออกแบบเหมืองแร่, กฎหมายสำหรับวิศวกรเหมืองแร่ และธรณีเทคนิค เป็นต้น
แจกแต้ม #PAT2 บอกเลยข้อนี้ออกทุกปี!!
Link : seeme.me/ch/devilphysic/kpN6mM?pl=EGnYoy
คุณสมบัติของผู้สมัคร
- เป็นผู้ที่มีความสนใจทางด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ ปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ
- ต้องมีความขยัน อดทน และมีความรับผิดชอบ
- จะต้องเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือเทียบเท่า
- มีผลคะแนนเฉลี่ยสะสม GPAX อยู่ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยได้กำหนดเอาไว้ (น้อง ๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยได้เลยค่ะ)
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
- ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : คลิกที่นี่
- สาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : คลิกที่นี่
- สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : คลิกที่นี่
- สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา : คลิกที่นี่
- สาขาเทคโนโลยีปิโตรเลียม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา : คลิกที่นี่
EP.2 ออกชัวร์100% กับ 8 เนื้อหาที่ต้องรู้! พิชิต 9 วิชาและ PAT2
Link : seeme.me/ch/chemkrunas/9wJ7Ok?pl=DBVZ7D
จบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง?
- หน่วยงานราชการ หรือ หน่วยงานในกำกับของรัฐ เช่น กองเชื้อเพลิง กระทรวงอุตสาหกรรม (กรมทรัพยากรธรณี), กรมพลังงานทหาร, กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์สอนประจำมหาวิทยาลัย เป็นต้น
- หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, บริษัทสำรวจปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นต้น
- หน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทเหมืองแร่และโรงแต่งแร่ต่าง ๆ ทั่วประเทศและในต่างประเทศ (เช่น ลาว พม่า เวียดนาม ฯลฯ), โรงงานปูนซิเมนต์, บริษัทที่ขุดเจาะและสำรวจปิโตรเลียมและแก๊สธรรมชาติ, งานขายเครื่องจักรกลหนัก, บริษัทที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านการทำถนนผ่านภูเขาและการเจาะอุโมงค์การสร้างเขื่อน และการทำเหมืองหิน เป็นต้น
ข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, http://chayakonpost.blogspot.com