ข้อสอบ ข้อสอบปรนัย

จริงไหม? ตัวเลือกหลอกในข้อสอบปรนัย มีผลกระทบต่อความจำ และการเรียนรู้ระยะยาวแย่ลง

Home / ข่าวการศึกษา / จริงไหม? ตัวเลือกหลอกในข้อสอบปรนัย มีผลกระทบต่อความจำ และการเรียนรู้ระยะยาวแย่ลง

เชื่อได้เลยว่า นักเรียน-นักศึกษา จะต้องเคยผ่านการทำข้อสอบแบบหลายตัวเลือก (Multiple-choice test) กันมาอย่างนับไม่ถ้วนกันแน่นอน ซึ่งก็อาจจะมีหลาย ๆ คนที่มีความรู้สึกไม่ชอบ เมื่อจะต้องเห็นตัวเลือกหลอกที่ถูกใส่เข้ามาเป็นเลือกในข้อสอบด้วย ไม่ว่าจะเป็นตัวเลือกหลอกที่บอกว่า ถูกทุกข้อ ผิดทุกข้อ หรือ ถูกต้องเพียงบางข้อเท่านั้น

ตัวเลือกหลอกในข้อสอบปรนัย ..

โดยในบางข้อก็อาจจะเป็นคำตอบที่ถูกต้อง แต่ในบางครั้งอาจาร์ยผู้ออกข้อสอบก็วางดักเราเอาไว้ เพราะมันตัวเลือกหลอกที่หลาย ๆ คนคิดว่าเป็นคำตอบที่ถูกต้อง แต่เพื่อน ๆ รู้หรือไม่ว่าล่าสุด!! ได้มีผลการวิจัยทางด้านจิตวิทยาและประสาทวิทยาศาสตร์ออกมาว่า ข้อสอบแบบนี้ไม่เป็นผลดีต่อการวัดผลคะแนนสอบเลย รวมทั้งยังมีผลต่อความจำและการเรียนรู้ระยะยาวของนักเรียน-นักศึกษา อีกด้วย

ศ. แอนดรูว์ บัตเลอร์ นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน แห่งเมืองเซนต์หลุยส์ (Washington University in St. Louis) ได้ทำการตีพิมพ์ผลการศึกษาในวารสารการวิจัยประยุกต์ด้านความจำและสติปัญญษ (Journal of Applied Research in Memory and Cognition) ฉบับเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา

ตัวเลือกหลอกในข้อสอบปรนัย

ตัวเลือกหลอกทำให้มีปัญหาด้านความจำ

ซึ่ง ศ. แอนดรูว์ บัตเลอร์ กล่าวว่า การทำข้อสอบหลายตัวเลือกจะช่วยทำให้นักเรียน-นักศึกษา สามารถจดจำข้อมูลได้อย่างแม่นยำและเรียนได้อย่างลึกซึ้งในระยะยาว ก็ต่อเมื่อข้อสอบเหล่านั้นปราศจากตัวเลือกหลอก เพราะว่ามันจะไปขัดขวางกระบวนการทางสมองไม่ให้ดึงข้อมูลที่ถูกต้องจากในอดีตมาใช้ และยังทำให้สร้างความทรงจำใหม่ที่เป็นข้อมูลผิดที่เชื่อมโยงไปกับตัวเลือกหลอกในข้อสอบ ทำให้เราเลือกตอบในข้อผิดมากกว่าข้อที่ถูกต้อง

นอกจากนี้ ศ. แอนดรูว์ บัตเลอร์ ยังได้กล่าวต่ออีกด้วยว่า ข้อสอบปรนัยแบบมีหลายตัวเลือกที่ดีนั้น ควรอยู่ในรูปแบบที่เรียบง่ายและตรงไปตรงมากที่สุด เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา ได้ใช้กระบวรการทางสมองได้อย่างเต็มที่ ดึงเอาความรู้ที่ถูกต้องมาใช้ได้อย่างแม่นยำจากอดีตและนำข้อมูลเหล่านั้นมาประมวลผลใหม่อีกครั้ง เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อประเด็นนั้น ๆ

แต่ในปัจจุบันตัวเลือกหลอกในข้อสอบจะไม่ทำให้เกิดกระบวนการทางสมองที่ว่านี้ โดยผู้สอบจะหันไปมุ่งวิเคราะห์องค์ประกอบทางภาษาของประโยคคำตอบในแต่ละข้อแทน ทั้งยังทำให้ผู้ทำข้อสอบใช้การเดาคำตอบมากขึ้นตามไปด้วย

ข้อสอบที่ดีควรจะต้องเป็นข้อสอบที่มีระดับความยากมากพอ แต่ก็ไม่ควรยากจนเกินไป เพราะความล้มเหลวที่เกิดจากการเลือกคำตอบที่ผิดนั้น อาจจะส่งผลทำให้ทำให้ผู้สอบจำข้อมูลผิด ๆ ไว้ในสมองมากขึ้นได้…

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.bbc.com

Written by : Toey

บทความที่น่าสนใจ