9 วิชาสามัญ ข้อสอบ ข้อสอบพร้อมเฉลย ลักษณะข้อสอบ เทคนิคการทำข้อสอบ

9 วิชาสามัญ คณิตศาสตร์ 1 และ 2 แตกต่างกันอย่างไร – เลือกเรียนบัญชี ควรลงสอบตัวไหน?

Home / ข่าวการศึกษา / 9 วิชาสามัญ คณิตศาสตร์ 1 และ 2 แตกต่างกันอย่างไร – เลือกเรียนบัญชี ควรลงสอบตัวไหน?

วิชาสามัญ 9 วิชา หรือที่ทุกคนมักจะเรียกได้ว่า 9 วิชาสามัญ เป็นข้อสอบกลางของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ. ที่มีการจัดสอบทั้งหมด 9 วิชาด้วยกัน ได้แก่ ภาษาไทย สังคมศึกษาฯ ภาษาอังกฤษ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา วิทยาศาสตร์ทั่วไป คณิตศาสตร์ 1 และคณิตศาสตร์ 2 ซึ่งเป็นการสอบเพื่อนำคะแนนมายื่นสมัครเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย โดยจะมีการจัดสอบปีละ 1 ครั้งเท่านั้น

9 วิชาสามัญ คณิตศาสตร์ 1 และ 2 แตกต่างกันอย่างไร?

ทั้งนี้น้อง ๆ ที่สามารถสมัครสอบได้นั้นจะต้องเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ม.6 ขึ้นไป หรือเทียบเท่า หรือจบการศึกษาระดับชั้น ม.6 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้น้อง ๆ ที่เรียนทางสายอาชีวศึกษา (ปวช.) หรือเรียน กศน. ก็สามารถสมัครสอบได้เช่นกัน

และการสมัคสอบ 9 วิชาสามัญน้อง ๆ ไม่จำเป็นที่จะต้องสมัครสอบในทุกวิชา สามารถเลือกได้ว่าจะสอบวิชาไหนบ้าง (น้อง ๆ จะต้องเข้าไปดูรายละเอียดเกณฑ์การพิจารณาหรือคะแนนที่ใช้ในแต่ละคณะ/สาขาวิชาที่น้อง ๆ ต้องการเข้าศึกษากันก่อน จะได้ไม่สมัครสอบกันผิดวิชานะคะ)

9 วิชาสามัญ คณิตศาสตร์ 1 และ 2 แตกต่างกันอย่างไร?

แต่ทั้งนี้ก็อาจจะมีน้อง ๆ หลายคนที่ไม่รู้ว่า วิชาคณิตศาสตร์ 1 และ 2 มีความแตกต่างกันอย่างไร เนื้อหาที่ออกสอบเหมือนกันหรือไม่ และเราควรเลือกสมัครสอบตัวไหนดีให้ตรงกับคณะ/สาขาวิชาที่เราต้องการเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ จะพาทุกคนไปไขข้อสงสัยเหล่านี้กันค่ะ พร้อมมีข้อสอบ + เฉลย มาให้น้อง ๆ ได้ลองฝึกทำกันด้วยนะ

ความแตกต่างคณิตฯ ทั้ง 2 ตัว คือ…

คณิตศาสตร์ 1

สำหรับ คณิตศาสตร์ 1 เนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นคณิตฯ เพิ่มเติมที่เรียนในแผนการเรียนวิทย์-คณิต และสายศิลป์คำนวณ ที่สามารถใช้คะแนนยื่นสมัครได้แทบทุกคณะ/สาขาวิชาของทุกมหาวิทยาลัย (เหมาะกับน้อง ๆ ที่เรียนมาในแผนการเรียนวิทย์-คณิต, ศิลป์คำนวณ และน้อง ๆ ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อด้านสายวิทย์และการคำนวณ)

เนื้อหาที่ออกสอบ คณิตฯ 1

– จำนวนเต็ม
– จำนวนจริง
– จำนวนเชิงซ้อน
– เรขาคณิตวิเคราะห์
– เวกเตอร์
– ตรีโกณ
– เมทริก
– ฟังก์ชันเอกโพฯ
– ลอการลิทึม
– ความน่าจะเป็น
– สถิติ
– แคลคูลัส & ลำดับ
– อนุกรม
– ทักษะเชื่อมโยง

** โดยเนื้อหาที่ออกสอบจะเป็นรวม ๆ ทุกเรื่อง ที่น้อง ๆ ได้เรียนมาตั้งแต่ระดับชั้น ม.4-ม.6

คณะ/สาขาวิชาที่ใช้คะแนนส่วนใหญ่ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1. กลุ่ม กสพท

– คณแพทยศาสตร์
– คณะทันตแพทยศาสตร์
– คณะสัตวแพทยศาสตร์
– คณะเภสัชศาสตร์

2. กลุ่มวิทย์สุขภาพ

– คณะสหเวชศาสตร์
– คณะพยาบาลศาสตร์
– คณะเทคนิคการแพทย์
– คณะกายภาพบำบัด
– คณะสาธารณสุขศาสตร์
– คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
– คณะจิตวิทยา
– คณะวิทยาศาสตร์
– คณะวิศวกรรมศาสตร์
– คณะบัญชี/การเงิน/การตลาด/บริหารธุรกิจ, คณะเศรษฐศาสตร์
– คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์
– คณะนิติศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์

นอกจากนี้ก็ยังมีบางคณะของมหาวิทยาลัยที่ใช้ คณิตฯ 1 เช่นกัน ได้แก่ 

– คณะอักษรศาสตร์/คณะมนุษยศาสตร์, คณะศิลปกรรมศาสตร์, คณะโบราณคดี
– คณะนิเทศศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์/สื่อสารมวลชน
– คณะครุศาสตร์/คณะศึกษาศาสตร์
– คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

9 วิชาสามัญ คณิตศาสตร์ 1 และ 2 แตกต่างกันอย่างไร?

คณิตศาสตร์ 2

ส่วนคณิตศาสตร์ 2 เป็นเนื้อหาคณิตฯ พื้นฐานที่ทุกแผนการเรียนจะได้เรียนเหมือนกันหมดจ๊ะ โดยส่วนใหญ่แล้วคะแนนคณิตศาสตร์ 2 จะนำมายื่นสมัครในคณะสายศิลป์ภาษาและสายคำนวณในบางมหาวิทยาลัยที่เปิดรับคะแนนทั้งคณิตศาสตร์ 1 และ 2 หรือเลือกรับคะแนนคณิตศาสตร์ 2 เพียงอย่างเดียว (เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่เรียนอยู่ในแผนการเรียนด้านศิลป์ภาษา, ศิลป์ธุรกิจ, ศิลป์สังคม และน้อง ๆ ที่เรียนมาด้านสายอาชีวศึกษา และเรียน กศน.)

เนื้อหาที่ออกสอบ คณิตฯ 2 

– จำนวนจริง
– การประมาณค่า
– อัตราส่วน
– ตรีโกณมิติและการนำไปใช้
– เซต
– ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
– สมการและอสมการตัวแปรเดียว
– การนำกราฟไปใช้
– ลำดับ และอนุกรม เลข คณิต และเรขาคณิต
– ความน่าจะเป็นสถิติ

คณะ/สาขาวิชาที่ใช้คะแนนส่วนใหญ่ คณิตฯ 2 ได้แก่ 

– คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
– คณะอักษรศาสตร์/คณะมนุษยศาสตร์, คณะศิลปกรรมศาสตร์, คณะโบราณคดี
– คณะนิเทศศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์/สื่อสารมวลชน
– คณะครุศาสตร์/คณะศึกษาศาสตร์
– คณะบัญชี/การเงิน/การตลาด/บริหารธุรกิจ, คณะเศรษฐศาสตร์
– คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์
– คณะนิติศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์

ข้อสอบ + เฉลย ปี 2555-2559

ปี 2555 
คณิตศาสตร์ คลิก + เฉลย คลิก
Link สำรอง : คณิตศาสตร์ คลิก + เฉลย คลิก

ปี 2556 
คณิตศาสตร์ คลิก + เฉลยตอนที่ 1 คลิก + ตอนที่ 2 คลิก
Link สำรอง : คณิตศาสตร์ คลิก + เฉลยตอนที่ 1 คลิก ตอนที่ 2 คลิก

ปี 2557 
คณิตศาสตร์ คลิก + เฉลย คลิก
Link สำรอง : คณิตศาสตร์ คลิก + เฉลย คลิก

ปี 2558
คณิตศาสตร์ คลิก
Link สำรอง : คณิตศาสตร์ คลิก

ปี 2559 
คณิตศาสตร์ คลิก
Link สำรอง : คณิตศาสตร์ คลิก

TCAS รอบที่ใช้คะแนน 9 วิชาสามัญ

  • รอบที่ 2 รับแบบโควตา
  • รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน
  • รอบที่ 4 รับแบบแอดมิชชัน (ใช้สำหรับกลุ่มแพทยศาสตร์ที่ใช้เกณฑ์เดียวกับ กสพท)

น้อง ๆ สามารถเข้าไปติดตามรายละเอียดทั้งหมดของการสอบ 9 วิชาสามัญได้ที่ : www.niets.or.th

บทความที่น่าสนใจ