สวัสดีค่ะ น้อง ๆ ก่อนอื่นครูพี่โบว์คงต้องถามไถ่กันก่อนเลยว่า “เป็นอย่างไรกันบ้างกับสนามสอบ GAT PAT สนามสอบแรกที่เพิ่งผ่านพ้นไป” ครูพี่โบว์ได้ยินมาหลายเสียงเลยว่า ข้อสอบปีนี้ไม่หมูเลยใช่มั้ยคะ แต่เอาน่า … วิชาที่ผ่านไปแล้ว ก็คงต้องให้มันผ่านไป อย่าเก็บมาคิดให้ไม่สบายใจเลยค่ะ เพราะเรายังมีอีก 2 สนามสอบ และหลายวิชาที่จะต้องทบทวนในเวลาอันน้อยนิด และที่สำคัญถ้าคิดว่าพลาด GAT PAT ไปแล้ว เรายิ่งต้องทำ O-NET และ 9 วิชาให้ดีกว่าเดิม คะแนนจะต้องพุ่งปรี๊ดดดดดด ห้ามท้อ! ห้ามเทเป็นอันขาดค่ะ!!!!!
ลักษณะข้อสอบ 9 วิชาสามัญ
บทความที่แล้ว ครูพี่โบว์ได้หยิบยก ลักษณะข้อสอบวิชาภาษาไทย ตัวอย่างและเวลาในการทำข้อสอบ – ONET สนามสอบที่ 2 ในรายวิชาภาษาไทย มาให้น้อง ๆ ได้รู้จักและเตรียมตัวก่อนเข้าห้องสอบกันไปแล้ว มาถึงบทความนี้เรามาทำความรู้จักลักษณะของข้อสอบ 9 วิชาสามัญ ที่จะสอบในอีกสนามหนึ่งกันดีกว่าค่ะว่าจะมีความเหมือนหรือแตกต่างจาก O-NET หรือไม่ อย่างไร
มีความแตกต่างจากข้อสอบ O-NET อย่างไร ?
การทดสอบวิชาสามัญ 9 วิชา หรือการสอบ 9 วิชาสามัญ ซึ่งได้แก่ วิชาภาษาไทย วิชาสังคม วิชาภาษาอังกฤษ วิชาคณิตศาสตร์ 1 (พื้นฐาน + เพิ่มเติม) วิชาฟิสิกส์ วิชาเคมี วิชาชีววิทยา วิชาคณิตศาสตร์ 2 (พื้นฐาน) และวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป จะมีการจัดทดสอบในวันที่ 16 – 17 มีนาคม 2562 ที่จะถึงนี้ค่ะ
วิชาภาษาไทย
ในส่วนของวิชาภาษาไทย จัดสอบในวันเสาร์ที่ 16 มีนาคม 2562 เวลา 13.30 – 15.00 น. น้อง ๆ จะมีเวลาในการทำข้อสอบเพียง 1 ชั่วโมง 30 นาที (ต่างกับ O-NET ที่มีเวลาทำข้อสอบถึง 2 ชั่วโมง) นอกจากจะมีความแตกต่างเรื่องของเวลาแล้ว จำนวนข้อสอบก็แตกต่างกันค่ะ เพราะข้อสอบ 9 วิชาสามัญ วิชาภาษาไทย มีเพียงข้อสอบปรนัยจำนวน 50 ข้อ และแต่ข้อมีน้ำหนักคะแนนที่เท่ากันคือ ข้อละ 2 คะแนน รวมเป็น 100 คะแนนค่ะ
เนื้อหาคล้ายกันแต่โจทย์ยาวและซับซ้อนกว่า
ขอบข่ายเนื้อหาที่ใช้ในการสอบจะมีความคล้ายคลึงกับข้อสอบ O-NET แต่มีอัตราส่วนของการอ่านจับใจความมากกว่าหลักภาษาไทย หรือพูดง่าย ๆ ว่า “เนื้อหาคล้ายกัน แต่โจทย์ยาวและซับซ้อนกว่าค่ะ” ข้อนี้แหละที่ทำให้ ข้อสอบ 9 วิชาสามัญในรายวิชาภาษาไทยเป็นยาขมสำหรับใครหลายคน
ตัวอย่างข้อสอบวิชาภาษาไทย ใน 9 วิชาสามัญ
เนื้อหาในส่วนของหลักภาษาที่น้อง ๆ จะต้องเจอมีตั้งแต่เรื่องการสะกดคำ การใช้คำให้ถูกต้อง ความหมายของคำ สำนวนไทย ชนิดของประโยค ประโยคบกพร่อง เจตนาในการสื่อสาร ระดับภาษา ราชาศัพท์ โวหาร ซึ่งเนื้อหาในส่วนนี้มีประมาณ 15-20 ข้อค่ะ ตัวอย่างเช่น
ในส่วนที่เหลือประมาณ 30 ข้อ จะเป็นส่วนของการวิเคราะห์ข้อความ บทสนทนา ทรรศนะ แนวความคิด การใช้เหตุ-ผล ประเด็นการโต้แย้ง การอนุมาน ตัวอย่างเช่น
ถ้าน้อง ๆ ได้ลองดูตัวอย่างก็จะรู้ว่าอันที่จริงแล้วโจทย์ก็ไม่ได้ยาวขนาดหลับแล้วหลับอีก หรืออ่านเป็นหน้าแล้วมีคำถามแค่ 2 ข้อนะคะ ความยาวกำลังน่ารักน่าชังน่าอ่าน แค่อาจจะมีความซับซ้อนของข้อความ ตัดตัวเลือกหรือหาข้อถูกได้ยากกว่าปกติเท่านั้นเองค่ะ อีกอย่างหนึ่งกระดาษคำตอบก็ไม่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนอย่างข้อสอบ O-NET นะคะ หน้าเดียว ตอนเดียวสบาย ๆ แต่อย่าลืมฝน ฝนสลับ ฝนข้ามข้อละกันนะจ๊ะ
กระดาษคำตอบ 9 วิชาสามัญ
จนถึงวันนี้ครูพี่โบว์ก็ยังคงแนะนำน้อง ๆ เหมือนเคย ว่าควรหาเวลาฝึกทำข้อสอบเก่าเพื่อให้เกิดความเคยชิน และที่สำคัญจะได้รู้ว่าเราถนัดข้อสอบเรื่องอะไร เนื้อหาเรื่องใดที่เรายังไม่ได้ทบทวน เรื่องไหนที่ควรทำก่อน เรื่องไหนที่ต้องค้นคว้าเพิ่ม อย่างน้อยวิชาภาษาไทยก็น่าจะเป็นวิชาหนึ่งที่หวังคะแนนเกือบเต็มได้นะคะ
น้อง ๆ สามารถอัพเดตข้อมูล รายละเอียดต่าง ๆ หรือประกาศสำคัญของการสอบ 9 วิชาสามัญ ได้จากหน้าเว็บไซต์ของ สทศ. ที่ http://www.niets.or.th
ก่อนลากันไปในบทความนี้ ครูขอส่งกำลังใจให้ทุกคนนะคะ โค้งสุดท้ายแล้วกับความทุ่มเทของเรา ความฝันอยู่ไม่ไกลค่ะ สักวันจะต้องเป็นจริง ด้วยรัก … ครูพี่โบว์
ติว GAT ฟรี ! กับครูพี่โบว์
SEEME.ME : KruBow
บทความแนะนำ
- เทคนิคการทำข้อสอบ GAT เชื่อมโยง ตอน 2 – สัญลักษณ์แบบที่ 2
- เทคนิคพิชิต GAT เชื่อมโยง 150 คะแนนเต็ม (ตอนที่ 1)
- เทคนิคพิชิตคำว่า “ไม่” – เทคนิคการอ่านหนังสือ เตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย
- ฝุ่นพิษ หมอกพิษ ควันพิษ – 3 คำนี้มีความหมายต่างกันอย่างไร ? มลพิษทางอากาศ
- เทคนิคการสอบ GAT เชื่อมโยง – 150 คะแนนเต็ม ไม่ยากอย่างที่คิด
- เทคนิคการทำข้อสอบ GAT เชื่อมโยง ตอนที่ 3 – สัญลักษณ์แบบที่ 3