dek62 TCAS62 มหาวิทยาลัยราชภัฏ

มรภ. เจอวิกฤตหนัก หลังจำนวนนักศึกษาลดลง 2 ปีติดต่อกัน – TCAS62 

Home / ข่าวการศึกษา / มรภ. เจอวิกฤตหนัก หลังจำนวนนักศึกษาลดลง 2 ปีติดต่อกัน – TCAS62 

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา ผศ.ดร.เรืองเดช วงศ์หล้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ (มรภ.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎ (ทปอ.มรภ.) ได้เปิดเผยถึงสถานการณ์จำนวนนิสิตนักศึกษาที่สมัครเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฎ (มรภ.) ทั่วประเทศว่า ขณะนี้มีผู้สมัครเข้าศึกษา มรภ. ทั่วประเทศ ผ่านระบบ TCAS62 รอบที่ 1 แฟ้มสะสมผลงาน พบว่า มีจำนวนผู้สมัครในสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ยังคงได้รับความนิยมจากผู้สมัครเป็นจำนวนมาก 

มรภ. เจอวิกฤตหนัก หลังจำนวนนักศึกษาลดลง 2 ปีติดต่อกัน

ส่วนในสาขาอื่น ๆ ก็ยังไม่พบความผิดปกติ แต่อย่างไรก็คามขณะนี้ยังไม่เห็นภาพชัดเจนว่า สถานการณ์ของ มรภ. ทั่วประเทศจะมีปัญหาหรือไม่ ต้องรอการรับสมัครรอบที่ 2 การรับแบบโควตา ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2562 เสียก่อน ถึงจะรู้ว่าเรากำลังประสบปัญหาหนักเหมือนกับที่ ทปอ. ได้กล่าวถึงได้หรือไม่

ผศ.ดร.เรืองเดช ยังได้กล่าวต่ออีกด้วยว่า การที่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้แสดงความกังวัลว่าในปี 2562 นี้จะเป็นปีเผาจริงของมหาวิทยาลัยไทยและจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษานั้น มรภ. ก็ได้มีการเตรียมการเอาไว้หลายอย่างแล้ว

มรภ. เจอวิกฤตหนัก หลังจำนวนนักศึกษาลดลง 2 ปีติดต่อกัน 

เช่น การปรับหลักสูตรการเรียนการสอน หรือ ปิดบางหลักสูตร แต่เนื่องจากกลุ่มผู้เรียนของ มรภ. กับ มหาวิทยาลัยเกิดในสังกัด ทปอ. เป็นคนละกลุ่มกัน นักศึกษาของ มรภ. อยู่ในกลุ่มชุมชนท้องถิ่นที่ต้องการเข้าเรียนในภูมิลำเนาของตนเอง ไม่อยากย้ายไปเรียนที่อื่นทำให้เลือกที่จะเข้าเรียนที่ มรภ. ฯลฯ

ทั้งนี้ มรภ. ได้มีการติดตามสถานการณ์และห่วงใยกรณีเด็กลดและเข้าเรียนใน มรภ. มาตลอด พบปัญหาเด็กลดลงอย่างฮวบฮาบมาตั้งแต่ 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้สถานการณ์ของ มรภ. มาถึงจุดต่ำสุดแล้ว ส่วนในปีการศึกษา 2562 ก็คงไม่ลดลงไปมากกว่านี้

ทางด้านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้มีการให้คำแนะนำกับ มรภ. ให้ผลิตบัณฑิตให้ตรงต่อความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน โดยได้ร่วมมือกับสถานประกอบการในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ ตรงต่อความต้องการของตลาดแรงงาน โดยมีชื่อเรียกว่า หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการการเรียนกับการทำงาน หรือ Work Integrated Learning  (WIL)

ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนร่วมกับสถานประกอบการ นำนิสิตนักศึกษาเข้าไปเรียนรู้และทำงานในสถานประกอบการจริงเป็นระเวลา 2 ปี เมื่อนักศึกษาเรียนจบออกมาแล้ว สถานประกอบการก็สามารถเลือกรับคนเข้าทำงานได้ เพราะได้เห็นแววตั้งแต่เรียนแล้วนั่นเอง เช่น หลักสูตรสาขาวิชาชีพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร การท่องเที่ยว ไฟฟ้า หรือ จัดหลักสูตรร่วมกับบริษัท ซี.พี.ออลล์ เมื่อเรียนจบไปแล้วก็สามารถเข้าทำงานในร้านสะดวกซื้อได้ เป็นต้น

ที่มา : www.dailynews.co.th

บทความที่น่าสนใจ