dek62 TCAS62 การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา เอกสาร

7 เอกสารสำคัญ ที่ใช้ในการสมัครสอบ TCAS ที่ #dek62 ควรรู้

Home / ข่าวการศึกษา / 7 เอกสารสำคัญ ที่ใช้ในการสมัครสอบ TCAS ที่ #dek62 ควรรู้

การสมัครเข้าเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อผ่านระบบ TCAS นอกจากน้อง ๆ จะเตรียมตัวให้พร้อม เตรียมคะแนนสอบที่จะยื่นให้ดีแล้ว การเตรียมเอกสารต่าง ๆ ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะถ้าหากว่าเราลืมเอกสารอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้วล่ะก็ รับรองเลยว่าเรามีโอกาสสอบไม่ติดกันอย่างแน่นอน

7 เอกสารสำคัญ ที่ใช้ในการสมัครสอบ TCAS

ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

ดังนั้น ในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ จะพาทุกคนมาดูกันว่ามีเอกสารสำคัญอะไรบ้าง ที่น้อง ๆ จะต้องเตรียมให้พร้อมในการใช้สมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา (ซึ่งในทุกมหาวิทยาลัยจะต้องใช้เอกสารเหล่านี้) เตรียมเอกสารให้พร้อมตั้งแต่ตอนนี้จะได้ไม่พลาดกันนะจ๊ะ

1. สำเนาบัตรประชาชน

บัตรประชาชน เป็นบัตรที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเราทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น รูปถ่าย ชื่อจริง-นามสกุล วันเกิด กรุ๊ปเลือด ศาสนา ที่อยู่ และที่สำคัญที่สุดก็คือ เลขประจำตัวประชาชนทั้ง 13 หลัก ซึ่งการสมัครสอบในระบบ TCAS น้อง ๆ จะต้องถ่ายสำเนาบัตรประชาชน แล้วทำการยื่นไปพร้อม ๆ กับเอกสารอื่น ๆ ด้วย

สอนฟรี!! สูตรการรวมตัวต้านทาน ฉบับฟิสิกส์แม่งเถื่อน

Link : seeme.me/ch/devilphysic/MRZ5rM?pl=EGnYoy

2. สำเนาทะเบียนบ้าน

ทะเบียนบ้าน เป็นเอกสารที่บอกว่าเราเป็นผู้อยู่อาศัยในบ้านหลังไหน เริ่มเข้ามาพักอาศัยตั้งแต่เมื่อไหร่ ใครเป็นเจ้าของบ้าน และยังบอกถึงลักษณะบ้านที่เราพักอาศัยอยู่ด้วย สำเนาทะเบียนเป็นเอกสารที่ใช้ยืนยันถิ่นฐานที่พักอาศัยภายในประเทศไทย โดยรอบโควตาพื้นที่ที่ใช้ “จังหวัด” เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยนั้น จะใช้สำเนาทะเบียนบ้านเป็นตัวยืนยันว่าเรามีถิ่นฐานอยู่ที่นี่จริง

สำหรับการถ่ายสำเนาทะเบียนบ้าน เราจะต้องถ่ายทั้ง 2 หน้า ให้อยู่ในแผ่นเดียวกัน ได้แก่ หน้าแรกเป็นรายละเอียดของที่อยู่อาศัย และหน้าที่มีชื่อของเราอยู่นั่นเอง

3. เอกสารเปลี่ยนชื่อ/เปลี่ยนที่อยู่ (ุถ้ามี)

ในระเบียบการรับสมัครในระบบ TCAS จะมีข้อกำหนดด้วยว่า หากน้อง ๆ มีการเปลี่ยนที่อยู่/เปลี่ยนชื่อ จะต้องมีเอกสารการเปลี่ยนที่อยู่/เปลี่ยนชื่อแนบมาด้วย (ซึ่งเป็นส่วนที่หน่วยงานราชการเป็นคนออกมาให้)

เพราะถ้าหากรายละเอียดการสมัครในส่วนของชื่อกับที่อยู่ไม่ตรงกัน จะทำให้น้อง ๆ หมดสิทธิ์ในการเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษานั้น ๆ เพื่อเป็นการยืนยันว่าไม่มีการสวมรอยนั่นเอง แต่ถ้าหากใครไม่มีการเปลี่ยนชื่อหรือที่อยู่ก็สามารถข้ามไปได้เลย

4. รูปถ่ายในชุดนักเรียน

รูปถ่ายที่ใช้ในการสมัคร จะต้องเป็นรูปนักเรียนที่มีพื้นหลังเรียบเป็นสีขาวหรือสีฟ้าเท่านั้น เห็นใบหน้าชัดเจน และจะต้องเป็นรูปถ่ายที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือน โดยจะมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 1-2 นิ้ว แต่ถ้าหากทางมหาวิทยาลัยต้องการรูปถ่ายในการสมัครแบบออนไลน์ น้อง ๆ ก็สามารถนำรูปที่ถ่ายมาไปสแกนแล้วส่งออนไลน์ได้เหมือนกัน

คู่กรดง่ายนิดเดียว!! รีบดูกันเล๊ย!!

Link : seeme.me/ch/chemkrunas/9ao0jq?pl=DBVZ7D

5. ใบ ปพ.1

สำหรับใบ ปพ.1 หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า Transcript เป็นเอกสารแสดงผลการเรียนของผู้เรียนในรายวิชาต่าง ๆ ตั้งแต่เทอมแรกจนถึงเทอมสุดท้ายของการศึกษา ซึ่งจะมีรายละเอียดของเกรดทุกวิชา รวมทั้งเกรดเฉลี่ยสะสมทั้งหมดด้วย โดยปกติแล้ว ใบ ปพ.1 น้อง ๆ จะได้ก็ต่อเมื่อสำเร็จการศึกษาเท่านั้น แต่ในกรณีที่น้อง ๆ จะต้องใช้ก็สามารถเข้าไปติดต่อได้ที่ห้องทะเบียนของโรงเรียน ทั้งนี้น้อง ๆ จะต้องเตรียมรูปถ่ายไปด้วย 1 ใบตอนขอใบ ปพ.1 ด้วย เพื่อใช้ติดในใบ ปพ.1 นั่นเอง

6. ใบ ปพ.7

ใบ ปพ.7 เป็นเอกสารรับรองการเป็นนักเรียน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเอกสารสำคัญที่ใช้เยอะมาก สำหรับนักเรียนชั้น ม.6 เพราะน้อง ๆ ยังเรียนไม่จบ จึงยังไม่มีเอกสารยืนยันว่าจบการศึกษาระดับ ม.6 แล้วนั่นเอง ในการรับสมัครในระบบ TCAS ในโครงการรับตรงต่าง ๆ จะต้องมีเอกสารฉบับนี้ด้วย เพื่อเป็นการยืนยันว่าเรากำลังเรียนและเป็นนักเรียนของโรงเรียนนี้จริง ๆ และยังเป็นการป้องกันการสวมรอยอีกด้วย

7. ใบ ปพ.2

ใบ ปพ.2 หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ ใบประกาศนียบัตรจบการศึกษา เป็นหลักฐานแสดงวุฒิการศึกษาสำหรับน้อง ๆ ที่สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแล้ว (วุฒิ ม.6) โดยจะมีข้อมูลบอกว่าเราสำเร็จการศึกษาในวันไหน ปีไหน จบจากแผนการเรียนอะไรหรือหลักสูตรอะไร พร้อมทั้งยังจะต้องปั๊มของโรงเรียนด้วย ( ชใบ ปพ.2 เราไม่สามารถขอล่วงหน้าได้ จะต้องรอให้เราจบการศึกษาจริง ๆ จึงจะสามารถได้รับใบนี้)

บทความที่น่าสนใจ