sdu คณะน่าเรียน คณะวิทยาการจัดการ จบแล้วทำงานอะไร สาขาวิชาเลขานุการทางการแพทย์ หลักสูตรใหม่

ม.สวนดุสิต เปิดสอนที่แรก เลขานุการทางการแพทย์ – จบแล้วทำงานเกี่ยวกับอะไร?

Home / ข่าวการศึกษา / ม.สวนดุสิต เปิดสอนที่แรก เลขานุการทางการแพทย์ – จบแล้วทำงานเกี่ยวกับอะไร?

เนื่องจากในปัจจุบันตลาดแรงงานโลกต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านธุรกิจบริการเป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายงานด้านบริการสาธารณสุข ทำให้ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เล็งเห็นถึงความสำคัญอาชีพทางด้านนี้ จึงได้มีการเปิดสอนหลักสูตรใหม่ขึ้นมาก็คือ เลขานุการทางการแพทย์ (Medical Secretary) โดยเป็นหนึ่งในสาขาวิชาของคณะวิทยาการจัดการ

คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาเลขานุการทางการแพทย์

เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการบริหารจัดการและด้านเลขานุการให้เข้ากับความรู้ทางการแพทย์ โดยจะเป็นการมุ่งเน้นให้ผู้เรียนในสาขาวิชานี้มีทักษะทางด้านภาษาอังกฤษที่ดี เพื่อนำไปใช้สื่อสารทางการแพทย์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม (มีการสอบสัมภาษณ์ก่อนเข้าเรียนเป็นภาษาอังกฤษ)

คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาเลขานุการทางการแพทย์

ในแต่ละชั้นปี เรียนอะไรบ้าง?

ชั้นปีที่ 1

โดยการเรียนการสอนจะเน้นให้น้อง ๆ ได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งในปี 1 น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ในด้านบริหารเป็นส่วนใหญ่ เช่น เรียนเกี่ยวกับบัญชี การเงิน การจัดการ การตลาด การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ และที่สำคัญน้อง ๆ ยังจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับมารยาทและการพัฒนาบุคลิกภาพให้ออกมาดูดีอยู่เสมอ

ชั้นปีที่ 2

ในชั้นปีที่ 2 น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับด้านเลขนุการเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการประชุมทางการแพทย์ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ การใช้โปรแกรมต่าง ๆ ในการทำงานอย่างมีความชำนาญ นอกจากนี้น้อง ๆ ยังจะได้เรียนรู้เรื่องกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับแพทย์ บุคลากร หรือ โรงพยาบาล และศัพท์สามัญทางการแพทย์

คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาเลขานุการทางการแพทย์

ชั้นปีที่ 3

ชั้นปีที่ 3 จะเน้นการเรียนการสอนทางการแพทย์แบบเจาะลึกมากยิ่งขึ้น โดยน้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพ กายวิภาค ความรู้เกี่ยวกับยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ศัพท์เฉพาะทางการแพทย์ การพยาบาลเบื้องต้น และเทคนิครังสี ซึ่งวิชาเรียนเหล่านี้จะทำให้น้อง ๆ แตกต่างจากเลขานุการคนอื่น ๆ เพราะในการประชุมหรือติดต่อสื่อสารกันในการทำงาน เรามีหน้าที่ในการจดบันทึกข้อมูลทั้งหมดและทำการสรุปในที่ประชุมให้กับหัวหน้าหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเราควรจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับด้านการแพทย์เอาไว้ด้วยค่ะ

ชั้นปีที่ 4

และในชั้นปีที่ 4 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของการเรียนก่อนที่น้อง ๆ จะได้ออกไปทำงานจริง ในการเรียนชั้นปีนี้น้อง ๆ จะได้ออกไปฝึกปฏิบัติงานจริงในสถานพยาบาล โรงพยาบาล ทั้งของภาครัฐและเอกชน สำหรับน้อง ๆ ที่เรียนในสาขาวิชาเลขานุการทางการแพทย์นอกจากจะต้องมีความรู้ด้านเลขานุการและทางการแพทย์แล้ว ด้านบุคลิกภาพก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะถ้าเรามีบุคลิกภาพที่ดีจะช่วยทำให้เรามีภาพลักษณ์ที่ดูดีและเป็นข้อได้เปรียบในการต่อรองหรือสื่อสารพูดคุยกับบุคคลอื่น ๆ

ค่าเล่าเรียน/ค่าธรรมเนียมการเรียน

ค่าเล่าเรียนอยู่ที่ประมาณ 17, 350 บาท/เทอม หรือรวมตลอดหลักสูตรประมาณ 138, 800 บาท

ทั้งนี้ ค่าเล่าเรียนอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในบางปีการศึกษา ซึ่งน้อง ๆ สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ของคณะ/มหาวิทยาลัย

คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาเลขานุการทางการแพทย์

อยากเรียนต้องทำอย่างไร?

  • ต้องสำเร็จการศึกษาในระดับชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า
  • เรียนจบในแผนการเรียนวิทย์-คณิตฯ, สาศิลป์ฯ, สาอาชีพ (ปวช.)
  • ต้องมีเกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX) ตั้งแต่ 2.00 ขึ้นไป
  • เพศหญิงต้องมีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 155 ซม. และเพศชายต้องมีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 160 ซม.
  • วิชาที่ต้องเน้นอ่านเป็นพิเศษ ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ
  • การสอบสัมภาษณ์เข้าเรียนจะใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร

เปิดรับสมัครผ่าน TCAS แบ่งออกเป็น 3 รอบ ดังนี้

  • รอบที่ 2 โควตา
  • รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน
  • รอบที่ 4 Admissions (คะแนนที่ใช้ GPAX 20%, O-NET 30%, GAT 30%, PAT 1 20%)

ดูรายละเอียดทั้งหมดได้ที่

จบแล้วทำงานอะไร?

  • เลขานุการในหน่วยงานแพทย์
  • เลขานุการผู้ประกอบการทางการแพทย์
  • ผู้ประสานงานด้านการแพทย์
  • เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการในบริษัทเวชภัณฑ์
  • ผู้ประกอบการธุรกิจด้านสุขภาพ
  • เซลล์ขายยา (ดีเทลยา) ฯลฯ

โดยสามารถทำงานได้ทั้งในสถานพยาบาล โรงพยาบาล หรือองค์กรสาธารณสุข ทั้งที่เป็นหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน

บทความที่น่าสนใจ