คณะน่าเรียน ยุคดิจิทัล อาชีพทำเงิน

8 อาชีพมาแรง สำหรับบัณฑิตจบใหม่ ในยุคดิจิทัล – เงินดี อนาคตไกล

Home / บทความการทำงาน / 8 อาชีพมาแรง สำหรับบัณฑิตจบใหม่ ในยุคดิจิทัล – เงินดี อนาคตไกล

เรียกได้ว่า ปัจจุบันเทรนด์อาชีพในตลาดแรงงานไม่ว่าจะเป็นในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนั้นก็ทำให้บัณฑิตจบใหม่ยังคงว่างงานเป็นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว โดยสาเหตุส่วนหนึ่งก็มาจาก เรียนจบมาไม่ตรงกับสาขาที่ตลาดแรงงานต้องการและมีจำนวนมากเกินกว่าตำแหน่งงานที่มีอยู่จะรองรับได้นั่นเอง

8 อาชีพมาแรง สำหรับบัณฑิตในยุคดิจิทัล

และในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ ก็มีสาขาน่าเรียนที่กกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบันมาฝากน้อง ๆ กันด้วย เรียนจบออกมาแล้วไม่ตกงานแน่นอน แถมยังได้รับค่าตอบแทนสูงมากอีกด้วย จะมีสาขาวิชาชีพไหนกันบ้าง มาดูกันได้เลย…

8 อาชีพมาแรง สำหรับบัณฑิตในยุคดิจิทัล

1. วิศวกรคอมพิวเตอร์

วิศวกรคอมพิวเตอร์ (Computer Engineer)ถือได้ว่าเป็นอาชีพที่ตลาดแรงงานทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศต้องการมากที่สุดในขณะนี้เลยก็ว่าได้ เพราะในปัจจุบันตลาดงานแรงงานต่าง ๆ ได้เริ่มก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลกันเกือบหมดแล้ว โดยได้มีการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและระบบสื่อสารต่าง ๆ

ดังนั้นวิศวกรคอมพิวเตอร์จึงมีหน้าที่ในการเขียนโปรแกรม พัฒนาระบบต่าง ๆ และรวมถึงการดูแลรักษา แก้ไขปัญหาต่าง ๆ อีกด้วย เพื่อให้มีความทันสมัยและปลอดภัยจากภัยคุกคามต่าง ๆ ช่วยทำให้ธุรกิจดำเนินงานได้อย่างราบรื่นและบรรลุเป้าหมายที่วางเอาไว้

โดย วิศวกรคอมพิวเตอร์ จะเน้นเรียนในเรื่องการออกแบบ สร้าง ทดสอบ วิเคราะห์ จนไปถึงเรื่องการบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์ (Software) อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) และเครือข่าย (Network) ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูล หลักสูตร/สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสายงาน เช่น สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมซอร์ฟแวร์ และสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ฯลฯ

อ่านเพิ่มเติม : 10 สาขาวิชาด้านวิศวกรรมศาสตร์ เรียนจบแล้ว สามารถเริ่มทำงานได้ทันที

2. กราฟิกดีไซน์

กราฟิกดีไซน์ (Graphic Designer) เป็นอาชีพด้านไอที ที่เน้นการออกแบบสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบเว็บไซต์ ออกแบบโลโก้ แต่งภาพ หรือสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ก็ล้วนเป็นงานด้านกราฟิกทั้งนั้น และที่สำคัญรายได้ของกราฟิกดีไซน์ยังค่อนข้างสูงมากอีกด้วย นอกจากนี้อาชีพกราฟิกดีไซน์ยังมีจุดแข็งที่ AI ยังไม่สามารถแย่งงานได้นั่นก็คือ งานด้านนี้ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ ยากที่หุ่นยนต์หรือ AI จะเข้ามาทำงานแทน

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจอยากเรียนต่อด้านกราฟิกดีไซน์ จะต้องเรียนเกี่ยวกับการคิดและออกแบบ การจัดองค์ประกอบ การใช้สี การพิมพ์ เช่น งานถ่ายภาพ งานสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโฆษณาทั้งแบบ 2D และ 3D นอกจากนี้ยังจะได้เรียนเกี่ยวกับเครื่องมือต่าง ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานออกแบบกรฟิกต่าง ๆ อีกด้วย

หลักสูตร/สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสายงาน เช่น สาขานิเทศศิลป์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ และสาขากราฟิกอาร์ตและกราฟิกมีเดีย เป็นต้น ที่สำคัญน้อง ๆ ที่เลือกในสาขานี้จะต้องเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการที่ดีด้วยนะจ๊ะ

อ่านเพิ่มเติม : 10 สาขาน่าเรียนด้าน IT ที่เรียนจบมาแล้วเงินเดือนดีมาก | ม.ที่เปิดสอน

8 อาชีพมาแรง สำหรับบัณฑิตในยุคดิจิทัล

3. สถาปนิก

สถาปนิก (Architect) เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั่วโลก โดยจะมีหน้าที่ออกแบบอาคารประเภทต่าง ๆ ให้มีความสวยงาม สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ กฏหมาย ประยุกต์ใช้ความรู้ ความสามารถ ทั้งทางด้านศิลปะและด้านเทคนิค โดยจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ประโยชน์ในการใช้สอย และประหยัด ทั้งในด้านราคาค่าก่อสร้างและพลังงานที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้อยู่อาศัย หรือผู้ใช้อาคาร และไม่ส่งผลเสียต่อส่วนรวม

คุณสมบัติที่ดีของผู้ที่อยากเรียนด้านนี้ ต้องเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะด้านทัศนศิลป์ มีความรู้ด้านคณิตศาสตรและวิทยาศาสตร์มาประกอบด้วย เพราะวิชาการออกแบบส่วนใหญ่จะเป็นวิชาประยุกต์ ดังนั้นผู้ที่สนใจอยากสอบเข้าเรียนต่อด้านนี้จะต้องสอบวิชาความถนัดด้านการออกแบบ หรือ ความถนัดทางสถาปัตยกรรม (PAT 4) ด้วย

หลักสูตร/สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสายงาน เช่น สาขาวิชาสถาปัตยกรรม สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน สาขาวิชาการออกอุตสาหกรรม และสาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม ฯลฯ

อ่านเพิ่มเติม : สถาปัตย์ฯ อีกหนึ่งคณะน่าเรียน น้อง ๆ ที่มีหัวใจรักในการออกแบบไม่ควรพลาด

4. ศัลยแพทย์ (แพทย์ศัลยกรรม)

ศัลยแพทย์ (surgeon) เป็นอีกหนึ่งในสาขาวิชาชีพทางด้านการแพทย์ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และศัลย์แพทย์ก็ได้มีการแบ่งออกเป็นศัลยแพทย์ด้านต่าง ๆ เช่น ศัลยแพทย์หัวใจ ศัลยแพทย์ทั่วไป และศัลยแพทย์ช่องปาก ฯลฯ

แต่ศัลยแพทย์ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้นอย่างรวดเร็วก็คือ แพทย์ศัลยกรรม เพราะด้วยในปัจจุบันการศัลยกรรมหรือการเสริมความงามได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง แถมยังเป็นอาชีพที่มีรายได้ดีอันดับต้น ๆ ของประเทศ อีกด้วย สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่สนใจอยากเรียนต่อด้านแพทย์ศัลยกรรมก็สามารถเข้าเรียนต่อในคณะแพทยศาสตร์ และก็เลือกในสาขาวิชาศัลยกรรม (ชื่อของสาขาวิชาอาจจะมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสถาบันการศึกษานะจ๊ะ)

อ่านเพิ่มเติม : เรียนแพทย์ 6 ปี ต้องเจออะไรบ้าง? ใช้คะแนนอะไรในการสอบเข้า? | ม.ที่เปิดสอน

8 อาชีพมาแรง สำหรับบัณฑิตในยุคดิจิทัล

5. นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล

นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) กำลังเป็นอาชีพที่ต้องการของในหลาย ๆ องค์กรที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้ข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มุ่งเน้นการใช้ Big Data ในการทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำหรับคนที่ต้องการทำงานด้านนี้จะต้องมีทักษะความรู้หลายอย่างด้วยกัน เช่น ด้านคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ สถิติ เป็นต้น มีหน้าที่ในการตีความหรือวิเคราะห์ข้อมูล บริหารจัดการข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ วิจัย และพัฒนาออกมาเป็นโมเดลคณิตศาสตร์เพื่อทำนายอนาคต

และในประเทศไทยตอนนี้ก็ยังพบคนที่ทำงานทางด้านนี้ค่อนข้างน้อย ซึ่งสวนทางกับความต้องการของตลาดแรงงาน ที่สำคัญอาชีพนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลยังได้รับค่าตอบแทนที่สูงมากอีกด้วย หลักสูตร/สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสายงาน เช่น สาขาวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ สาขาวิทยาการข้อมูล สาขาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูล สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และสาขาคณิตศาสตร์หรือสถิติประยุกต์ ฯลฯ

อ่านเพิ่มเติม : 11 สาขาน่าเรียนสุดฮอต ยุค 4.0 เรียนจบแล้วมีงานทำแน่นอน

6. นักการตลาดดิจิทัล

นักการตลาดดิจิทัล (Digital Marketer) เนื่องจากในปัจจุบันมีผู้เข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตในทุกวันเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นจึงทำให้ธุรกิจต่าง ๆ หันมาให้ความสำคัญกับการทำการตลาดออนไลน์เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ตามทันกลุ่มลูกค้าในยุคดิจิทัลนั่นเอง โดยในหลาย ๆ บริษัทก็ได้ทุ่มงบประมาณในการทำการตลาดดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ในปัจจบุันอาชีพของนักการตลาดดิจิทัลกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานสูงมากขึ้นตามไปด้วย

ซึ่งในประเทศไทยก็มีสถาบันการศึกษาที่เปิดการเรียนการสอนเกี่ยวกับหลักสูตรด้านการตลาดดิจิทัลหลายแห่งด้วยกัน โดยมีหลักสูตร/สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสายงาน เช่น สาขาการตลาดดิจิทัล สาขาการตลาด และสาขาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล ฯลฯ และอาชีพนี้น้อง ๆ อาจไม่จำเป็นที่จะต้องจบสายตรงก็ได้ แต่ขอให้มีความตั้งใจ มีพรแสวง มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษ และเข้าใจถึงแก่นลึกของการเสพข่าวสารในโลกโซเชียลว่าเป็นอย่างไร กระแสไหนที่กำลัง in หรือ out ก็สามารถที่จะเริ่มทำอาชีพนี้ได้เหมือนกัน

อ่านเพิ่มเติม : 9 สายงานใหม่ในเมืองไทย ที่ในอนาคตมาแรงแน่นอน (เงินเดือนสูงมาก)

8 อาชีพมาแรง สำหรับบัณฑิตในยุคดิจิทัล

7. วิศวกรหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

วิศวกรหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robotics and Automation Engineer) เมื่อโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลก็ทำให้ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันของมุนษย์ พร้อมทั้งยังมีแนวโน้มเติบโตขึ้นมากเรื่อย ๆ ในทุกปี โดยเฉพาะธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมที่ได้มีการนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยในกระบวนการทำงานเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สำหรับหลักสูตรการเรียนการสอน จะเป็นการบูรณาการความรู้ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า เครื่องกล และคอมพิวเตอร์มาทำงานร่วมกัน โดยจะเริ่มเรียนตั้งแต่พื้นฐานการคิดวิเคราะห์ ออกแบบ เขียนโปรแกรม และสร้างผลงานออกมาให้สามารถใช้งานได้จริง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของการทำงานในยุคปัจจุบันที่ได้มีการนำระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์เข้าใช้งานมากขึ้นในแต่ละภาคอุตสาหกรรม หลักสูตร/สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสายงาน เช่น สาขาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิศวกรรมระบบอัตโนมัติ สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และสาขาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ ฯลฯ

อ่านเพิ่มเติม : 10 สาขาวิศวกรรม ที่มีความโดดเด่นในศตวรรษที่ 21 มีงานรองรับ – ค่าตอบแทนสูง

8. วิศวกรการเงิน

วิศวกรการเงิน (Financial Engineer) ถือได้ว่าเป็นอาชีพใหม่ในประเทศไทยที่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่ค่อยรู้จักกันสักเท่าไหร่ แต่อาชีพนี้กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งในประเทศไทยและในประเทศกลุ่ม AEC หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีหน้าที่ในการบริหารความเสี่ยง บริหารจัดการด้านนโยบายสินเชื่อ วิเคราะห์หลักทรัพย์ การลงทุน การประกันภัย ในหน่วยงานที่เป็นธนาคาร บริษัทหลักทรัพย์ และหน่วยงานของที่ปรึกษาการลงทุน ตลอดจนบริษัทขนาดใหญ่ ฯลฯ

โดยวิศวกรการเงิน เป็นหลักสูตรที่อยู่ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จะเน้นให้ผู้เรียนได้มีทักษะด้านการวิเคราะห์การเงิน การลงทุน และการจัดการความเสี่ยง ตลอดจนมีความสามารถในการใช้เครื่องคำนวณและเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างชำนาญ

ทั้งนี้สถาบันการศึกษาในประเทศไทยได้มีการสนับสนุนและส่งเสริมให้นักศึกษาในชั้นปีที่ 3 และปี 4 ได้มีโอกาสในการเข้าสอบใบอนุญาตผู้ประกอบการธุรกิจทางการเงิน เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ตลาดแรงงานในอนาคต เช่น CISA (Certified Investment & Securities Analyst Program) ของประเทศไทย และ CFA (Certified Financial Analyst) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ฯลฯ

อ่านเพิ่มเติม : วิศวกรรมการเงิน อาชีพสุดรุ่ง ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานไทย + AEC

ข้อมูลจาก : www.careercoachinc.comadecco.co.thwww.admissionpremium.com

บทความที่น่าสนใจ