สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการช่วยเพิ่มความจำในการอ่านหนังสือ เทคนิคการเรียน คงจะหนีไม่พ้นสีของ ปากกาไฮไลท์ ที่ช่วยเน้นข้อความต่าง ๆ ให้อ่านได้สะดวก และจดจำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น แต่ทุกคนรู้ไหมว่า แต่ละสีของปากกาไฮไลท์ ต้องเลือกใช้สีอะไร ถึงจะเหมาะกับสายตาของเรา และข้อความนั้น ๆ เพื่อส่งผลต่อการจดจำให้ได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง เรามาดูกันดีกว่าว่ามีสีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ
เทคนิคการเรียน ด้วยปากกาไฮไลท์
วันนี้เรามาชวนให้ทุกคนมาทำความเข้าใจการใช้สีแต่ละสีเพื่อช่วยเรื่องความจำ และลองนำไปประยุกต์ใช้ในการอ่านหนังสือเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อการสอบครั้งต่อไป คะแนนจะอาจจะเพิ่มขึ้นได้มากกว่าที่คิดอย่างแน่นอนค่ะ
ควรใช้กี่สีเพื่อช่วยเน้นข้อความ ?
สีที่ใช้ก็ควรมี เพียง 4 สี เท่านั้น จำนวน 4 สี เป็นจำนวนที่เพียงพอและไม่เยอะเกินไป หากเยอะเกินไปแทนที่จะช่วยให้จำได้ กลับทำให้เราสับสนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้แล้วการใช้แต่ละสี ก็ต้องมีความหมายในตัวด้วย ว่าแต่ละสีหมายความว่าอะไร เวลาเปิดอ่านจะได้รู้ว่าสิ่งที่สำคัญอยู่ตรงไหนบ้าง
สีของปากกาไฮไลท์ มีสีอะไรบ้าง ?
สีเหลือง
เป็นสีสดใส เห็นแล้วสะดุดตา ไม่แพ้สีส้ม และเป็นสีที่นิยมมาก ๆ เพราะสีมันสะท้อนตา ดังนั้นควรใช้สีนี้ เน้นประโยคเปรียบเทียบ สีเหลืองจะช่วยกระตุ้นและดึงดูดความสนใจ เหมาะจะใช้ในการไฮไลท์ เนื้อหาส่วนที่สำคัญ วงกรอบรอบสิ่งที่ควรจำ หรือจะใช้กระดาษโน้ตสีเหลืองเขียนข้อความสำคัญก็ได้เหมือนกัน
สีส้ม
สีสดใส เห็นแล้วสะดุดตา และกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัว ดังนั้นควรใช้สีนี้ เน้นใจความสำคัญ เช่น ตัวอย่าง หรือประโยคเปรียบเทียบ จะช่วยทำให้เราเห็นภาพชัดเจน การใช้ไฮไลท์สีส้มหรือกระดาษโน้ตสีส้มจะช่วยให้เรา รับสารได้ดีขึ้น และทำให้เราไม่เครียด ถ้าอ่านหนังสือเหนื่อย ๆ ลองใช้สีส้มดูได้
สีชมพู
ให้ความรู้สึกสดใส อบอุ่น สวบ และเหมาะกับการ เน้นคำสั้น ๆ เช่น ชื่อคน สถานที่ หรือวันที่ต่าง ๆ ที่สำคัญ แถมสีสด ๆ แบบนี้ จะทำให้จับติดตามากขึ้น
สีฟ้า
ใช้กับข้อความ หรือประโยคสำคัญ เพราะสีฟ้าให้ความรู้สึกสงบ น่าเชื่อถือ และยัง กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
สีเขียว
สีที่ผ่อนคลายและช่วยเพิ่มสมาธิ นำไปใช้ เน้นลิสต์รายการ คำถาม ตัวเลข หรือลำดับต่าง ๆ ได้ แต่ข้อความยาว ๆ ก็เน้นได้ เช่น พวกคำอธิบายนิยาม หรือความหมายศัพท์ ช่วยทั้งเรื่องจำ และก็สบายตาเวลาอ่าน
นอกจากการใช้ปากกาไฮไลท์ช่วยจดจำแล้ว ยังมีเทคนิคอื่น ๆ อีก อย่าง การใช้สัญลักษณ์ เช่น ใช้ ** เขียนไว้ข้างหน้าสิ่งที่เราต้องอ่านทบทวนเยอะ ๆ , ฟังก่อนจด ไม่จำเป็นเลยว่าเราต้องจดทุกคำพูด ทุกตัวอักษรที่อาจารย์ได้กล่าวมา แต่การที่เราฟังก่อนจดนั้น ก็เพื่อการสรุปเอาแค่ใจความสำคัญที่มีประโยชน์มาจด, ใช้อักษรย่อ อย่างเช่น คำว่า “ตัวอย่าง” ใช้อักษรย่อว่า ตย. แต่น้อง ๆ ต้องแน่ใจด้วยนะว่า ย่อมาแล้วจะจำคำที่เราย่อได้ หรือ การวาดภาพเพิ่มสีสัน การวาดภาพประกอบเรื่องที่จด จะทำให้เราอยากอ่านมากขึ้น และไม่รู้สึกน่าเบื่ออีกด้วย
ข้อมูล