dek63 คณะน่าเรียน เรียนอะไรดี แนะแนวการศึกษา

คณะที่เราจะเข้าเรียนต่อ ระดับมหาวิทยาลัย เขาเรียนกันกี่ปีบ้าง?

Home / ข่าวการศึกษา / คณะที่เราจะเข้าเรียนต่อ ระดับมหาวิทยาลัย เขาเรียนกันกี่ปีบ้าง?

สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา และใกล้ที่จะก้าวสู่รั้วมหาวิทยาลัยกันแล้วนั้น แต่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกเรียนต่อด้านไหนดี หรือไม่รู้ว่าคณะที่เราจะเลือกเข้าศึกษาต่อนั้น เขาเรียนกันกี่ปี ในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ ก็ได้หาคำตอบ แต่ละคณะต้องเรียนกี่ปี มาฝากกันค่ะ

แต่ละคณะต้องเรียนกี่ปี ?

การเข้าเรียนต่อในรั้วมหาวิทยาลัย ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญที่น้อง ๆ จะต้องคิดและเลือกเรียนต่อในสิ่งที่ตนเองชอบ หรือมีความฝันอยากจะทำอาชีพในคณะที่เรียนจบมา เพราะถ้าน้อง ๆ เลือกเรียนตามเพื่อน หรือเลือกเรียนตามกระแสนั้น เมื่อเข้าไปเรียนจริง ๆ แล้วอาจจะทำให้น้อง ๆ ไม่มีความสุขในการเรียนได้นะคะ และนี่ก็คือรายชื่อคณะต่าง ๆ ที่เรียนตั้งแต่ 4 ปี 5 ปี และ 6 ปี จะมีคณะไหนบ้าง มาดูกันได้เลย

คณะเรียน 4 ปี

  • คณะพยาบาลศาสตร์
  • คณะเทคนิคการแพทย์
  • คณะสหเวชศาสตร์
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์
  • คณะอักษรศาสตร์
  • คณะนิเทศศาสตร์
  • คณะศิลปศาสตร์
  • คณะมนุษยศาสตร์
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์
  • คณะรังสีเทคนิค
  • คณะรัฐศาสตร์
  • คณะเกษตรศาสตร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • คณะบัญชี
  • คณกายภาพบำบัด
  • คณะบริหารธุรกิจ
  • คณะจิตวิทยา
  • คณะครุศาสตร์
  • คณะศึกษาศาสตร์
  • คณะนิติศาสตร์
  • คณะสังคมสงเคราะห์
  • คณะเศรษฐศาสตร์

คณะเรียน 5 ปี

  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ หลักสูตรสถาปัตยศาสตรบัณฑิต
    ** ยกเว้น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต 4 ปี

คณะเรียน 6 ปี

  • คณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
  • คณะทันตแพทยศาสตร์ หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต
  • คณะเภสัชศาสตร์ หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต
  • คณะสัตวแพทยศาสตร์ หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต
  • คณะทัศนมาตรศาสตร์ หลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต

แต่ละคณะต้องเรียนกี่ปี

3 เคล็ดลับเลือกเรียนต่อในสิ่งที่ใช่

1. หาอาชีพในฝัน ที่เราอยากจะเป็น

เชื่อว่าทุกคนจะต้องมีอาชีพในฝันกันอย่างแน่นอน ดังนั้นก่อนที่เราจะสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยให้เราลองถามตัวเองก่อนว่าอยากจะทำงานอะไร ที่ทำแล้วมีความสุขไปกับมันแต่ถ้ายังคิดไม่ออกให้เราลองมองไปรอบๆ คนใกล้ตัว หรือคนอื่นๆ ที่เขาทำงานกันแล้ว ลองดูว่างานที่เขาทำกันนั้นมีงานไหนบ้างที่เราเห็นแล้วอยากจะทำตามในทันที และเมื่อเรารู้ตัวเองแล้วว่าต้องการทำอาชีพไหนหรือทำงานทางด้านไหน ต่อมาก็ให้เรามาศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับคณะที่ต้องการกันได้เลย

2. ลองเข้าค่ายกิจกรรมดูบ้าง

ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเข้าค่าย หรืองาน OPEN HOUSE ในแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีการจัดขึ้นในทุกปีและแยกออกเป็นคณะ/สาขาวิชา ให้เราได้ไปค้นหาตัวเองกันได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว การกิจกรรมเหล่านี้จะจัดขึ้นโดยนักศึกษาของคณะนั้นๆ โดยการเข้าส่วนใหญ่จะเป็นการเข้าหลายวัน ทำให้เราได้รับทั้งความรู้ในภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติจริง พร้อมทั้งยังได้เรียนรู้จักเพื่อนใหม่ๆ ได้พูดคุยกับรุ่นพี่ที่เรียนในคณะนั้นจริงๆ อีกด้วย ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ต่อตนเองอย่างมากมายเลยทีเดียว ทั้งนี้เรายังจะได้ใบประกาศนียบัตรจากการเข้าร่วมกิจกรรม และนำมาทำเป็นโปไฟล์ในการสมัครเข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยได้ด้วย

3. หาที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำ

ถ้าเราค้นหาตัวเองไม่เจอในสิ่งที่ชอบจริงๆ ก็ยังมีอีกหนึ่งวิธีก็คือหาที่ปรึกษา ซึ่งอาจจะเป็นอาจารย์ประจำวิชาแนะแนวที่โรงเรียนก็ได้ เพราะยังไงท่านก็มีข้อมูลเตรียมเอาไว้ให้น้องๆ กันอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นคณะที่น่าเรียน คะแนนที่ใช้ในการสอบเข้า หรือเราอาจจะขอคำปรึกษา จากรุ่นพี่ที่เรียนจบและเข้าเรียนต่อ ที่มหาวิทยาลัยไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ได้ เราอาจจะลองถามพี่เขาเกี่ยวกับคณะที่เขาเรียนว่าเป็นอย่างไร เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง เพื่อใช้เป็นแนวทางให้กับตนเอง

อ้างอิงข้อมูลจาก FB : PreTcas สอบเข้ามหาวิทยาลัย by AdmissionPremium

บทความที่น่าสนใจ