cu QS การจัดอันดับ มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย มหาวิทยาลัยไทย

จุฬาฯ ครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย 5 ปีซ้อน จาก QS World University Rankings 2018

Home / ข่าวการศึกษา / จุฬาฯ ครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย 5 ปีซ้อน จาก QS World University Rankings 2018

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา สถาบันการจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากประเทศอังกฤษ ที่มีชื่อว่า “QS หรือ Quacquarelli Symonds” ได้ทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ประจำปี 2018 (QS World University Rankings 2018) โดยในปีนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย ซึ่งถือได้ว่าเป็นระยะเวลา 5 ปีติดต่อกันมาแล้ว ตั้งแต่ปี 2014-2018 ที่จุฬาฯ สามารถครองอันดับ 1 ของประเทศไทยเอาไว้ตลอดมา และยังถูกจัดอันดับอยู่ในลำดับ 245 ของโลกอีกด้วย (ขยับขึ้นมาจากปีที่แล้วจากอันดับที่ 252 ของโลก)

จุฬาฯ ครองอันดับ 1 มหาลัยไทย 5 ปีซ้อน

สำหรับมหาวิทยาลัยชั้นนำอื่นๆ ในประเทศไทยที่ได้รับการจัดอันดับในระดับโลก มีดังต่อไปนี้

  • มหาวิทยาลัยมหิดล อยู่ในอันดับที่ 334 ของโลก
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อยู่ในอันดับที่ 551-600 ของโลก
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ 601-605 ของโลก
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ 751-800 ของโลก
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อยู่ในอันดับที่ 801-1,000 ของโลก ตามลำดับ…

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ประจำปี 2018

การจัดอันดับในระดับภูมิภาค 2018

ซึ่งในขณะเดียวกันการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในระดับภูมิภาค (QS World University Rankings by Region 2018) ก็ได้จัดให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย เป็นระยะเวลา 2 ปีติดต่อกัน ตั้งแต่ปี 2017-2018 และอยู่ในอันดับที่ 50 ของเอเชีย โดยที่มหาวิทยาลัยแห่งอื่นๆ ของไทยที่ติดอันดับเข้ามาด้วย มีดังต่อไปนี้

  • มหาวิทยาลัยมหิดล อยู่ในอันดับที่ 58 ของเอเชีย
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ 97 ของเอเชีย
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อยู่ในอันดับที่ 112 ของเอเชีย
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ 149 ของเอเชีย
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อยู่ในอันดับที่ 171 ของเอเชีย
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น อยู่ในอันดับที่ 178 ของเอเชีย
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อยู่ในอันดับที่ 188 ของเอเชีย

เกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัย โดย QS มีดังต่อไปนี้ 

  1. ประเมินจากการสำรวจความคิดเห็น (Global Survey) 50%
  2. ความมีชื่อเสียงทางด้านวิชาการ (Academic Reputation) 40%
  3. จำนวนนักศึกษาต่อคณะ (Student per Faculty) 20%
  4. การอ้างอิงผลงานทางวิชาการ (Citations per Faculty) 20%
  5. ชื่อเสียงด้านการจ้างงาน (Employer Reputation) 10%

มหาวิทยาลัยโลกที่ได้รับการจัดอันดับ 2018

ส่วนในระดับมหาวิทยาลัยที่ถูกจัดอันดับให้อยู่ในระดับต้นๆ ของโลก โดย QS ได้แก่ อันดับ 1 สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT), อันดับ 2 มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด, อันดับ 3 มหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยจากประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งหมด

สำหรับมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ 1 และอันดับ 2 ของเอเชีย มาจาก 2 มหาวิทยาลัยหลักของประเทศสิงคโปร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี นันยาง (NTU) และมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ซึ่งติดอันดับ 11 และ 15 ของโลกตามลำดับ ส่วนมหาวิทยาลัยอันดับที่ 3 ของเอเชีย ได้แก่ Tsinghua University จากสาธารณรัฐประชาชนจีน และยังติดอันดับที่ 25 ของโลกอีกด้วย

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ประจำปี 2018

การจัดอันดับแยกตามสาขาวิชา จุฬาฯ

ทั้งนี้ ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยได้มีการแยกตามสาขาวิชา โดยการประเมินของ QS World University Rankings by Subject 2018 ปรากฏว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอันดับติดอันดับ 150 ของโลก จำนวน 2 สาขาวิชา ได้แก่ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (Engineering & Technology) และสังคมศาสตร์และการบริหารจัดการ (Social Sciences & Management, ติดอันดับ 200 ของโลก ในสาขาวิชาศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (Arts & Humanities), ติดอันดับ 250 ของโลก ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและชีวการแพทย์ (Life Sciences & Medicine) และติดอันดับ 300 ของโลก ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Sciences)

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ประจำปี 2018

โดยในภาครวมของสาขาวิชา จุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับดีขึ้น 3 สาขาวิชาด้วยกัน ได้แก่ สาขาวิชาสังคมศาสตร์และการบริหารจัดการ ติดอันดับที่ 139 ซึ่งดีขึ้นกว่าปีที่แล้วที่ได้อันดับ 159 สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี อันดับที่ 140 ซึ่งปีที่ผ่านมาได้อันดับที่ 147 และสาขาวิชาศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ อันดับที่ 197 ขยับดีขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่ได้อันดับที่ 210 แต่ในทางกลับกันสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและชีวการแพทย์ ตกจากอันดับที่ 203 มาอยู่อันดับที่ 215 และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ตกจากอันดับที่ 256 มาอยู่อันดับที่ 26

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ประจำปี 2018

รายวิชาที่ได้รับการจัดอันดับ จุฬาฯ

เมื่อพิจารณตามรายวิชาแล้ว จุฬาฯ ได้รับการจัดอันดับ ดังต่อไปนี้ 

ติดอันดับ 1 – 100 ของโลก จำนวน 2 รายวิชา ได้แก่ วิศวกรรมเหมืองแร่ (Engineering: Mineral & Mining) และวิศวกรรมเคมี (Engineering: Chemical)

ติดอันดับ 51 – 200 ของโลก จำนวน 16 รายวิชา ได้แก่ การเงินและการบัญชี (Accounting & Finance) สถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม (Architecture & Built Environment) วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม (Environmental Sciences) ภูมิศาสตร์ (Geography) ภาษาร่วมสมัย (Modern Languages) เภสัชศาสตร์ (Pharmacy & Pharmacology) การเมืองและการต่างประเทศ (Politics & International Studies) ธุรกิจและการจัดการ (Business & Management Studies) เคมี (Chemistry) วิศวกรรมโยธา และโครงสร้าง (Engineering: Civil & Structural) วิศวกรรมไฟฟ้า (Engineering: Electrical & Electronic) วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมการบิน และวิศวกรรมการผลิต ((Engineering: Mechanical, Aeronautical & Manufacturing) ภาษาศาสตร์ (Linguistics) วัสดุศาสตร์ (Materials Science) แพทยศาสตร์ (Medicine) สังคมวิทยา (Sociology)

ติดอันดับ 201 – 350 ของโลก จำนวน 4 รายวิชา ได้แก่ เศรษฐศาสตร์และเศรษฐมิติ (Economics & Econometrics) วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biological Sciences) วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ (Computer Science & Information System) ฟิสิกส์และดาราศาสตร์ (Physics & Astronomy)

บทความที่น่าสนใจ

ข้อมูลและภาพ : www.chula.ac.th