ช่วงเวลาระหว่างเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คือ วัยที่หลายคนมีคำถามกับตัวเองว่า เราควรเลือกเรียนต่อในมหาวิทยาลัยไหนดี เพราะการเลือกเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษามีผลต่อเรื่องของอนาคตด้านการทำงานไม่น้อย หลายคนเลือกเข้าเรียนมหาวิทยาลัยโดยที่ไม่ได้มีการเลือกเอาไว้ตั้งแต่แรก เมื่อเรียน ๆ ไปเริ่มรู้สึกว่าตนเองไม่เหมาะกับที่นี่ทำให้ต้องย้ายที่เรียนใหม่ เสียเวลาไปอีก หรือบางคนเรียนจบมาก็แทบไม่ได้ใช้ประโยชน์จากการเรียนเลย
สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่กำลังเตรียมตัวเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยลองเอาเทคนิคเหล่านี้ไปใช้เป็นตัวเลือกดู – 5 เทคนิคการเลือกเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย
5 เทคนิคการเลือกเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย ให้โดนใจ
เทียบจุดแข็งของมหาวิทยาลัยที่เป็นเป้าหมายเอาไว้
1. เทียบจุดแข็งของมหาวิทยาลัยที่เป็นเป้าหมายเอาไว้ – การเลือกจะเข้าเรียนมหาวิทยาลัยน้องๆ ส่วนใหญ่คงไม่ใช่จิ้มเลือกแค่ที่เดียวอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นควรนำเอาจุดแข็งของแต่ละที่ที่เราเลือกเอาไว้มาเปรียบเทียบกันแล้วลองดูว่าต้องการเข้าที่ไหนมากสุดเรียงลำดับกันไป จุดแข็งในที่นี้มีได้หลายอย่าง เช่น คณะวิชาที่เข้าศึกษา, ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยหรือคณาจารย์ผู้สอน, การเดินทาง เป็นต้น
คณะที่ทำการเปิดสอน
2. คณะที่ทำการเปิดสอน – คณะวิชาแต่ละมหาวิทยาลัยหากมองพื้นฐานมันอาจคล้ายกันแต่เมื่อลองศึกษาในหลักสูตรดี ๆ แล้วจะมีความต่างกันอยู่พอสมควร เพราะฉะนั้นต้องศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับคณะที่ตนเองสนใจให้ดี เพื่อที่เวลาเลือกเรียนแล้วจะได้ไม่รู้สึกผิดหวัง หรือเลือกพลาด
ข้อบังคับต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย
3. ข้อบังคับต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย – บางคนอาจมองว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่อย่าลืมว่าหลายคนรู้สึกเบื่อมหาวิทยาลัยก็เพราะเรื่องของกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ดังนั้นก่อนการเลือกเข้าเรียนมหาวิทยาลัยไหนก็ตาม ข้อบังคับก็สำคัญไม่น้อย
การยอมรับจากสังคมการทำงานในสาขาที่เรียน
4. การยอมรับจากสังคมการทำงานในสาขาที่เรียน – แต่ละมหาวิทยาลัยจะมีชื่อเสียงในสาขาวิชาต่างกันออกไป เพราะฉะนั้นหากเรารู้สึกว่า ต้องการเลือกเรียนคณะวิชาอะไรการเลือกมหาวิทยาลัยที่โดดเด่นในด้านนั้น ๆ จะช่วยให้เวลาเรียนจบไปแล้วโอกาสได้งานทำมีสูงกว่าการเรียนมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ที่แม้มีชื่อเสียงแต่ไม่ได้โดดเด่นในสาขาวิชาดังกล่าว
ลักษณะการใช้ชีวิตภายในมหาวิทยาลัย
5. ลักษณะการใช้ชีวิตภายในมหาวิทยาลัย – บางคนอาจมองว่าแต่ละมหาวิทยาลัยก็เป็นคนในระดับใกล้เคียงกันหมดแต่อย่าลืมว่าแต่ละที่นั้นจะมีลักษณะการใช้ชีวิตของนักศึกษาต่างกัน เช่น มหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดังอาจติดความหรูหรา, มหาวิทยาลัยรัฐบาลมักเน้นเรื่องความประหยัด เป็นต้น ต้องดูด้วยว่าตนเองชื่นชอบการใช้ชีวิตแบบไหนและจะเข้ากับคนอื่นได้หรือไม่
อัลบั้มภาพ 6 ภาพ
การเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย เป็นการเรียนต่อในอีกขั้นที่ผู้เรียนมีโอกาสในการตัดสินใจเลือกด้วยตนเองมากขึ้น แต่ด้วยวุฒิภาวะที่อาจยังไม่มากพอการนำเอาเทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้ไปใช้จะทำให้น้อง ๆ ทุกคนสามารถเลือกมหาวิทยาลัยที่จะเข้าเรียนต่อได้ตรงความต้องการของตนเองและมีความสุขกับการเรียน
สำหรับน้อง ๆ มอปลายคนไหน ที่อยากเตรียมฟิตเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ต้องการ และอยากได้เคล็ดลับดี ๆ มาเรียนเพิ่มเติมได้ที่ TUTOR ME