หลังจากที่เราได้รู้ถึงเคล็ดลับการเรียนวิชาเคมี ฟิสิกส์ และชีววิทยากันไปแล้ว ครั้งนี้เราก็มีเคล็ดลับการเรียนวิชายากอีกหนึ่งวิชามาบอกกัน นั่นก็คือ “คณิตศาสตร์” วิชาที่ทำเอาน้องๆ หลายคนตายกันมาแล้ว ยิ่งเรียนยิ่งยากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับน้องๆ ที่กำลังรู้สึกท้อกับวิชานี้อยู่ล่ะก็ ให้เปลี่ยนความคิดใหม่แล้วสู้ไปพร้อมกันเลย เพราะคณิตฯ เป็นวิชาที่สำคัญมากในการเรียน ไม่ว่าจะเป็นสายวิทย์ สายศิลป์ ก็ต้องเรียนคณิตศาสตร์ แม้แต่ตอนที่เข้ามาเรียนที่มหาวิทยาลัยก็ยังต้องเรียนนะคะ ถึงแม้บางคณะอาจจะไม่ต้องเรียนลึกมาก แต่ก็ต้องเรียนในช่วงปีแรก มาลองนำเคล็ดลับเหล่านี้ไปปรับใช้ให้เข้าตัวเองกันเลย
เคล็ดลับเรียนคณิตศาตร์ ให้เก่งกว่าเดิม
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เรียนคณิตฯ ไม่รู้เรื่องสักที?
ก่อนที่เราจะมาดูเคล็ดลับเรียนคณิศาสตร์เก่งกัน เรามาดูกันก่อนดีกว่าว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เราเรียนคณิตฯ ไม่รู้เรื่องสักที?
1. พื้นฐานไม่ดี
หลายๆ คนอาจจะไม่ตั้งใจเรียน เมื่อรู้สึกว่าไม่ชอบวิชานี้ เลยไม่ตั้งใจเรียนตั้งแต่พื้นฐาน ทำให้เมื่อเรียนสูงขึ้นมาเรื่อยๆ ก็ยิ่งทำให้ยากขึ้นไปอีก ทั้งเนื้อหาเยอะ เรียนในเชิงลึกมากขึ้น ในที่สุดก็ทำให้เราถอดใจไม่อยากจะเรียน ยิ่งแย่ลงไปเรื่อยๆ
2. ไม่เข้าใจนิยาม
ในการเรียนเลข สิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะมีบทนิยามมาประกอบในการแก้ไขโจทย์ต่างๆ สังเกตได้ง่ายๆ คนที่เก่งเลขเขามักจะให้ความสำคัญกับนิยามเป็นอย่างมาก เนื่องจากมันเป็นการสรุปทุกอย่างที่อยู่ในรูปตัวแปร ช่วยทำให้เราแก้ไขโจทย์ได้ง่ายยิ่งขึ้น
3. ไม่รู้จักการเชื่อมโยง
ถามว่ามันคือการเชื่อมโยงอะไร? มันก็คือการที่เรารู้จักการเชื่อมโยงความรู้เก่าตั้งแต่ชั้น ประถม มัธยม เข้ากับความรู้ใหม่ๆ ที่กำลังจะได้เรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นไป จัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของแต่ละโจทย์
4. เรียนแบบผิดๆ มาตลอด
เรามักที่จะใช้หลักในการจำเพียงอย่างเดียว แต่พอมาลงมือทำจริงๆ กลับทำไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่าจะต้องเชื่อมโยงยังไงดี? แก้ไขปัญหาไม่เป็น
5. ไม่ตั้งใจเรียน
เวลาเรียนก็หันไปทำอย่างอื่น ไม่สนใจเวลที่อาจารย์สอน และก็ไม่ยอมทบทวนบทเรียนเลย แล้วอย่างงี้เราจะไปเรียนได้เข้าใจได้ยังไงจริงไหม?
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –
เคล็ดลับการเรียนคณิตศาตร์ ให้เก่งขึ้นภายในพริบตา
แต่ก็ต้องขยันฝึกเป็นประจำ สม่ำเสมอ..
1. ห้ามมองข้ามนิยามโดยเด็ดขาด!
เพราะการที่เราจะเรียนเลขให้เก่งได้นั้น พื้นฐานเป็นสิ่งที่สำคัญมาก สูตรทุกสูตรไม่ว่าจะเป็นสูตรมาตรฐานหรือสูตรลัด ต่างก็เป็นตัวช่วยสำคัญที่จะช่วยทำให้แก้ไขโจทย์ในแต่ละข้อผ่านไปได้
2. หัดท่องจำสูตรบ้าง และปรับใช้ให้เป็น
ถึงแม้ว่าเราจะสูตรทั้งหมดของคณิตศาสตร์ไม่ได้ แต่เราก็ควรที่จะจำสูตรในขั้นพื้นฐานได้บ้าง โดยอาจจะจำในแบบของตัวเราเอง เวลาที่เราไปเจอโจทย์ในข้อยากๆ จะได้นึกออกแล้วนำมาปรับใช้ได้อย่างถูกต้อง
3. เรียนรู้ด้วยตนเอง
ไม่ใช่ว่าเราจะเรียนรู้จากที่อาจารย์สอนอย่างเดียวในห้องเรียน เราก็ควรจะหาความรู้ใหม่ๆ ด้วยตนเองด้วย ไม่เข้าใจตรงไหนก็จดโน๊ตไว้ แล้วค่อยไปถามอาจารย์ และก็ควรหมั่นทำโจทย์อยู่บ่อยๆ การที่เราฝึกทำโจทย์อยู่เป็นประจำ จะช่วยทำให้เราไม่ต้องกลัวการแก้ไขโจทย์ในข้อยากๆ อีกต่อไป และยังเป็นตัวช่วยที่ดีที่ไม่ต้องทำให้เราต้องจำสูตรอีกต่อไปแล้ว เพราะมันได้ถูกฝังไปอยู่ในหัวของเราแล้วโดยอัตโนมัติ
4. รู้จักการปรับเปลี่ยนวิธีการแก้ไขโจทย์
ซึ่งส่วนมากแล้วแต่ละโจทย์จะมีวิธีการแก้ได้หลายวิธี เราต้องรู้จักการยืดหยุ่น มองหลายๆ ด้าน ก็จะทำให้เรามองถึงวิธีการที่สามารถแก้ไขได้ แค่นี้ก็จะทำให้เราผ่านโจทย์แต่ละข้อไปได้อย่างง่ายแล้ว
5. ฝึกทำให้เป็นวินัย
หมั่นอ่านหนังสือหรือทำการบ้านให้ตรงเวลา ทำทุกวันได้ยิ่งดีเลย ไม่ควรผลัดวันประกันพรุ่ง โดยคิดว่าอ่านวันหลังก็ได้ ทำทีหลังก็ได้ เพราะว่ามันจะทำให้ติดเป็นนิสัย จนในที่สุดก็ทำให้เรากลายเป็นคนขี้เกียจ ทำการบ้านส่งไม่ทัน
6. ทบทวนความรู้อยู่เป็นประจำ
จัดเวลาสำหรับทบทวนสิ่งที่เรียนมา หรืออ่านล่วงหน้าสิ่งที่จะเรียนต่อไป และถ้าปฏิบัติตามที่กำหนดได้ควรให้รางวัลตนเอง เช่น ได้ฟังเพลง ดูหนัง เล่นกีฬา เป็นต้น ถ้าทำไม่ได้ตามกำหนดควรหาเวลาชดเชย หรือไม่ก็ทบทวนความรู้กับเพื่อน อย่าหวงวิชา แบ่งปันความรู้อธิบายให้กันและกัน อย่าช่วยเหลือเพื่อนในทางที่ผิด เช่น ทุจริตเวลาสอบ หรือให้ลอกงานโดยไม่เข้าใจ
มาลับสมองกันหน่อย
เราลองมาลับสมองกันก่อนไปเรียนคณิตศาสตร์กันดีกว่า (ห้ามแอบดูเฉลยกันน้า >_<)
1. บวกเลขอย่างไรก็ได้ โดยใช้แค่เลข 8 ให้ได้คำตอบเท่ากับ 1000?
2. มีพ่อ 2 คน และลูก 2 คนกินไข่เป็นอาหารเช้า พวกเขากินไข่คนละ 1 ฟอง รวมทั้งหมดเท่ากับ 3 ฟอง ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
3. ตั้งแต่ 1-1000 จะเห็นเลขไหนบ่อยที่สุด?
4. ตั้งแต่ 1-1000 จะเห็นเลขไหนน้อยที่สุด?
5. พ่อค้าสามารถบรรทุกกล่องใหญ่ 8 กล่อง หรือกล่องเล็ก 10 กล่องในการขนส่งหนึ่งเที่ยว การขนส่งทั้งหมดมีกล่องรวม 96 กล่อง ถ้าในจำนวนนั้นมีกล่องใหญ่มากกว่ากล่องเล็ก พ่อค้าต้องขนส่งกี่เที่ยว
6. 9999 = 4, 8888 = 8, 1816 = 6, 1212 = 0, แล้ว 1919 เท่ากับเท่าไหร่?
7. เกิดอะไรขึ้นในวันที่ 6 เดือนพฤษภาคม ปี 1978 เวลา 12:34 น.?
8. 1/2 ของ 2/3 ของ 3/4 ของ 4/5 ของ 5/6 ของ 6/7 ของ 7/8 ของ 8/9 ของ 9/10 ของ 1000 มีค่าเท่ากับเท่าไหร่?
เฉลย…
1. 888+88+8+8+8
2. ปู่, พ่อ, ลูก
3. 1
4. 0
5. 11 เที่ยว (กล่องใหญ่ 7 เที่ยว / กล่องเล็ก 4 เที่ยว)
6. 2 ตัวอย่างวิธีการคิด (9999 มี 4 รู และ มี 9 เพียงเลขเดียว = 4×1 = 4, 8888 มี 8 รู และ มี 8 เพียงเลขเดียว = 8×1 = 8, 1816 มี 3 รู และ มี 8,6 สองเลข = 3×2 = 6, 1212 ไม่มีรู = 0, 1919 มี 2 รู และ มี 9 เพียงเลขเดียว = 2×1 = 2)
7. 12345678 (12:34 5/6/78)
9. 100
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –
Link : http://video.mthai.com
ข้อมูลจาก : www.wegointer.com , theorendatutor.com/ , www.top-atutor.com