นักเรียน นักเรียนผี ระบบการศึกษาไทย

นักเรียนผี อีกหนึ่งปัญหาการศึกษาไทย ที่ต้องเร่งแก้ไข – ป.ป.ท. เผยสุ่มตรวจเจอ 21 โรงเรียน

Home / ข่าวการศึกษา / นักเรียนผี อีกหนึ่งปัญหาการศึกษาไทย ที่ต้องเร่งแก้ไข – ป.ป.ท. เผยสุ่มตรวจเจอ 21 โรงเรียน

เรียกได้ว่าช่วงนี้ เรามักจะได้ยินคำว่า นักเรียนผี กันอยู่บ่อย ๆ เลยทีเดียว และถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญของระบบการศึกษาไทยที่จะต้องเร่งหาวิธีในการแก้ไขปัญหาเลยทีเดียว เพราะการที่โรงเรียนต่าง ๆ นั้นมีนักเรียนผีปนอยู่กับนักเรียนจริง ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบการศึกษาไทยและยังรวมถึงด้านงบประมาณที่จะต้องจ่ายกับให้นักเรียนอีกด้วย

นักเรียนผี อีกหนึ่งปัญหาการศึกษาไทย

นักเรียนผี หรือ นักเรียนล่องหน หมายถึง นักเรียนที่ไม่มีตัวตนจริงในโรงเรียน เป็นเพียงตัวเลขที่ถูกสร้างหรือแต่งขึ้นมาเพื่อให้โรงเรียนมีจำนวนนักเรียนมากขึ้น อธิบายง่าย ๆ ก็คือ ถ้าสมมติว่ามีนักเรียนจำนวน 1,000 คน ก็จะมีนักเรียนผีเกิดขึ้นมาจำนวน 100 คนจาก 1,000 คน ทำให้จะต้องจ่ายงบประมาณด้านการศึกษาเพิ่มตามไปด้วย เพื่อให้เท่ากับจำนวนนักเรียนที่โรงเรียนได้แจ้งมานั่นเอง

โดยสร้างขึ้นมาเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง เช่น งบประมาณรายหัว โอกาสย้ายของผู้บริหารที่ไม่สามารถย้ายข้ามขนาดโรงเรียนได้ โดยเกณฑ์ในปัจจุบันได้มีการจำแนกโรงเรียนตามยอดนักเรียนออกเป็น 4 แบบ ได้แก่ เล็ก กลาง ใหญ่ และใหญ่พิเศษ ผู้บริหารจะไม่สามารถย้ายจากเล็กไปใหญ่ได้ หรือกลางไปใหญ่พิเศษได้ จะต้องเป็นจากเล็กไปกลาง กลางไปใหญ่ และใหญ่ไปใหญ่พิเศษ เท่านั้น ฯลฯ

คุยครบกับพบเอก : สร้างนักเรียนผี! โกงเงินอุดหนุนค่าเทอม

Link seeme.me/ch/goodmorningthailand/qvEAyM

สถานการณ์ นักเรียนผี จากการสุ่มตรวจโดย ป.ป.ท.

เมื่อวันที่ 10 ม.ค. 62 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ได้ทำการเปิดเผยความคืบหน้าการสุ่มตรวจข้อเท็จจริงบัญชีรายชื่อนักเรียนของโรงเรียนทั่วประเทศ จากกรณีที่มีการจ่ายเงินอุดหนุนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ ภาคเรียนที่ 2/2560 และภาคเรียนที่ 1/2561

หลังพบว่า มีการแจ้งจำนวนตัวเลขนักเรียนในระบบข้อมูลรายบุคคล หรือ DMC สูงเกินจริง เพื่อใช้เป็นเกณฑ์โยกย้าย ผอ.โรงเรียน จากโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กข้ามขั้นไปยังโรงเรียนขนาดใหญ่ รวมทั้งยังได้เงินรายหัวใช้ในการบริหารจัดการเรียนการสอน โดยไม่มีตัวผู้เรียนอยู่จริง ซึ่งจาการลงพื้นที่สุ่มตรวจ 21 โรงเรียนทั่วประเทศ เจ้าหน้าที่ได้มีการสรุปยอดเบื้องต้นออกมาแล้วพบว่า มีบัญชีรายชื่อนักเรียนเกินจำนวนที่แจ้งไว้ในระบบข้อมูลรายบุคคล DMC ของสพฐ. ทุกแห่ง

โรงเรียนในพื้นที่ภาคกลาง 5 โรงเรียน ได้แก่ 

1. โรงเรียนท่าเรือ “นิจยานุกุล” จ.พระนครศรีอยุธยา มีรายชื่อนักเรียนจาก DMC จำนวน 1,584 คน ตรวจสอบพบนักเรียนที่มีตัวตนจริง 1,548 คน ส่วนต่าง 36 คน

2. โรงเรียนธัญบุรี จ.ปทุมธานี มีรายชื่อนักเรียนจาก DMC จำนวน 2,816 คน ตรวจสอบพบนักเรียนที่มีตัวตนจริง 2,780 คน ส่วนต่าง 36 คน

3. โรงเรียนปทุมวิไล จ.ปทุมธานี  มีรายชื่อนักเรีย จาก DMC จำนวน 3,292 คน ตรวจสอบพบนักเรียนที่มีตัวตนจริง 3,235 คน ส่วนต่าง 57 คน

4. โรงเรียนสระบุรีวิทยา จ.สระบุรี มีรายชื่อนักเรียนจาก DMC จำนวน 3,579 คน ตรวจสอบพบนักเรียนที่มีตัวตนจริง 3,548 คน ส่วนต่าง 31 คน

5. โรงเรียนบางระจันวิทยา จ.สิงห์บุรี มีรายชื่อนักเรียนจาก DMC จำนวน 904 คน ตรวจสอบพบนักเรียนที่มีตัวตนจริง 874 คน ส่วนต่าง 30 คน

สำนักงาน ป.ป.ท. เขต 2 สุ่มตรวจ 3 โรงเรียน ได้แก่ 

1. โรงเรียนคลองกิ่วยิ่งวิทยา จ.ชลบุรี มีรายชื่อนักเรียนจาก DMC จำนวน 521 คน ตรวจสอบพบนักเรียนที่มีตัวตนจริง 481 คน ส่วนต่าง 40 คน

2. โรงเรียนหนองใหญ่ศิริวรวาทวิทยา จ.ชลบุรี มีรายชื่อนักเรียนจาก DMC จำนวน 519 คน ตรวจสอบพบนักเรียนที่มีตัวตนจริง 473 คน ส่วนต่าง 46 คน

3. โรงเรียนทุ่งศุขลาพิทยา จ.ชลบุรี มีรายชื่อนักเรียนจาก DMC จำนวน 1445 คน ตรวจสอบพบนักเรียนที่มีตัวตนจริง 1,353 คน ส่วนต่าง 92 คน

สำนักงาน ป.ป.ท. เขต 3 สุ่มตรวจสอบ 5 โรงเรียน ได้แก่ 

1. โรงเรียนขามสะแกแสง จ.นครราชสีมา มีรายชื่อนักเรียนจาก DMC จำนวน 1,510 คน ตรวจสอบพบนักเรียนที่มีตัวตนจริง 1,279 คน ส่วนต่าง 231 คน

2. โรงเรียนตาลสุมพัฒนา จ.อุบลราชธานี มีรายชื่อนักเรียนจาก DMC จำนวน 527 คน ตรวจสอบพบนักเรียนที่มีตัวตนจริง 406 คน ส่วนต่าง 121 คน

3. โรงเรียนภูมิซรอล จ.ศรีสะเกษ มีรายชื่อนักเรียนจาก DMC จำนวน 503 คน ตรวจสอบพบนักเรียนที่มีตัวตนจริง 453 คน ส่วนต่าง 50 คน

4. โรงเรียนสอนแก้วว่องไววิทยา จ.ยโสธร มีรายชื่อนักเรียนจาก DMC จำนวน 444 คน ตรวจสอบพบนักเรียนที่มีตัวตนจริง 396 คน ส่วนต่าง 64 คน

5. โรงเรียนสอนแก้วว่องไววิทยา จ.ยโสธร มีรายชื่อนักเรียนจาก DMC จำนวน 444 คน ตรวจสอบพบนักเรียนที่มีตัวตนจริง 396 คน ส่วนต่าง 64 คน

นักเรียนผี อีกหนึ่งปัญหาการศึกษาไทย

สำนักงาน ป.ป.ท.เขต  4 ตรวจสอบ 1 โรงเรียน ได้แก่ 

1. โรงเรียนช้างเผือกวิทยาคม จ.ร้อยเอ็ด มีรายชื่อนักเรียนจาก DMC จำนวน 368 คน ตรวจสอบพบนักเรียนที่มีตัวตนจริง 286 คน ส่วนต่าง 82 คน

สำนักงาน ป.ป.ท. เขต 5 ตรวจสอบ 1 โรงเรียน ได้แก่ 

1. โรงเรียนแม่ริมวิทยา จ.เชียงใหม่ มีรายชื่อนักเรียนจาก DMC จำนวน 1,288 คน ตรวจสอบพบนักเรียนที่มีตัวตนจริง 1,256 คน ส่วนต่าง 32 คน

สำนักงาน ป.ป.ท.เขต 6 ตรวจสอบ 1 โรงเรียน ได้แก่ 

1. โรงเรียนวัดโบสถ์ศึกษา จ.พิษณุโลก มีรายชื่อนักเรียนจาก DMC จำนวน 523 คน ตรวจสอบพบนักเรียนที่มีตัวตนจริง 440 คน ส่วนต่าง 83 คน

สำนักงาน ป.ป.ท.เขต 7 ตรวจสอบ 1 โรงเรียน ได้แก่

1. โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมป์ จ.สมุทรสาคร มีรายชื่อนักเรียนจาก DMC จำนวน 1,502 คน ตรวจสอบพบนักเรียนที่มีตัวตนจริง 1,459 คน ส่วนต่าง 43 คน

สำนักงาน ป.ป.ท.เขต 8 ตรวจสอบ 1 โรงเรียน ได้แก่ .

1. โรงเรียนเมืองสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี มีรายชื่อนักเรียนจาก DMC จำนวน 2,164 คน ตรวจสอบพบนักเรียนที่มีตัวตนจริง 2,154 คน ส่วนต่าง 10 คน

สำนักงาน ป.ป.ท.เขต 9 ตรวจสอบ 1 โรงเรียน ได้แก่ 

1. โรงเรียนนาทวีวิทยาคม จ.สงขลา มีรายชื่อนักเรียนจาก DMC จำนวน 2,055 คน ตรวจสอบพบนักเรียนที่มีตัวตนจริง 1,948 คน ส่วนต่าง 107 คน

คณะทำงานส่วนกลาง ป.ป.ท. ตรวจสอบ 2 โรงเรียน ได้แก่ 

1. โรงเรียนคอนสารวิทยาคม จ.ชัยภูมิ มีรายชื่อนักเรียนจาก DMC จำนวน 1,550 คน ตรวจสอบพบนักเรียนที่มีตัวตนจริง 1,449 คน ส่วนต่าง 101 คน

2. โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช ลาดกระบัง จ.กรุงเทพฯ มีรายชื่อนักเรียนจาก DMC จำนวน 2,501 คน ตรวจสอบพบนักเรียนที่มีตัวตนจริง 2,390 คน ส่วนต่าง 111 คน

นักเรียนผี อีกหนึ่งปัญหาการศึกษาไทย

ทั้งนี้ การสุ่มตรวจของแต่ละสำนักงานเขตพื้นที่ยังคงดำเนินการต่อไปตามที่ได้รับร้องเรียน หากพบโรงเรียนใดมีความผิดชัดเจนเข้าข่ายส่อไปในทางทุจริต หรือเอื้อประโยชน์กับตำแหน่งหน้าที่ของผู้อำนวยการโรงเรียนก็จะทยอยส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. พิจารณาต่อไปจนกว่าผลตรวจจะเสร็จสิ้น ซึ่งการตรวจสอบกรณีดังกล่าวเป็นไปตาม พ.ร.บ. มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ถึงแม้ว่าปัจจัยด้านนักเรียนผีจะเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการทุจริตขึ้นของสถานบันการศึกษา แต่ก็ยังมีอีกหลายเรื่องด้วยกันที่ส่อเจตนาทุจริต เราสามารถพิจารณาพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้ เช่น การเปลี่ยนร้านวัสดุครุภัณฑ์ ทั้งที่ราคาสินค้าหลายอย่างแพงกว่าเดิม เปลี่ยนบริษัทประกันอุบัติเหตุ เลือกที่จะเก็บเบี้ยประกันสูง ความสะดวกในการเบิกจ่ายเมื่อเกิดอุบัติเหตุของนักเรียนลดลง การสั่งซื้อสมุดจำนวนมากเกินความจำเป็น เป็นต้น

สรุปแนวทางการแก้ไขปัญหานักเรียนผีที่ยั่งยืน เราจะต้องมีการสร้างหรือพัฒนาการบริหารจัดการที่ดีให้เกิดขึ้นจริงให้ได้ ด้วยการเร่งถอดบทเรียนจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วเพื่อนำสาเหตุที่เป็นอุปสรรคหรือปัญหามาวิเคราะห์ แก้ไขปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการภายในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ข้อมูลอ้างอิงจาก : www.springnews.co.thwww.matichon.co.thwww.dailynews.co.th

บทความที่น่าสนใจ