คณะน่าเรียน ค่าเทอม จิตวิทยา แนะแนวการศึกษา

ค่าเทอม สาขาด้านจิตวิทยา ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่เปิดสอน

Home / ข่าวการศึกษา / ค่าเทอม สาขาด้านจิตวิทยา ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่เปิดสอน

จิตวิทยา (psychology) เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ หรือกระบวนการของจิต กระบวนการด้านความคิด และพฤติกรรมของมนุษย์ โดยเนื้อหาที่นักจิตวิทยาจะต้องศึกษา อาทิ การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์) อารมณ์ บุคลิกภาพ พฤติกรรม และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ฯลฯ อ่านบทความ อัปเดตท ค่าเทอม สาขาด้านจิตวิทยา ของมหาวิทยาลัยต่าง

ค่าเทอม สาขาด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

นอกจากนี้จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน โดยที่นักจิตวิทยามีหน้าที่ในการศึกษาและทำความเข้าใจถึงหน้าที่ หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดในสังคม ทั้งนี้ในขณะเดียวกันยังจะต้องศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนของระบบประสาทที่มีผลต่อการควบคุมการแสดงออกของอารมณ์ หรือพฤติกรรมต่าง ๆ ด้วย

และในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ ก็มีข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับค่าเทอม หรือค่าเล่าเรียนด้านจิตวิทยาของแต่ละมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนมาฝากกันด้วยค่ะ จะมีสถาบันการศึกษาแห่งไหนบ้าง ตามมาดูรายละเอียดกันได้เลย

ค่าเทอม สาขาด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะจิตวิทยา สาขาจิตวิทยา มีค่าธรรมเนียมการศึกษา 21,000 บาทต่อภาคการศึกษา (ถ้าหากน้อง ๆ ลงเรียนในภาคฤดูร้อนค่าธรรมการศึกษาจะอยู่ที่ 5,250 บาท)

ดูรายละเอียดทั้งหมด : www.chula.ac.th

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา มีอัตราค่าเล่าเรียนอยู่ที่ 15,300 บาทต่อภาคการศึกษา

ดูรายละเอียดทั้งหมด : https://arts.tu.ac.th/

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คณะสังคมศาสตร์ แบ่งออกเป็น 4 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาจิตวิทยาคลินิก สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ สาขาจิตวิทยาชุมชน และสาขาจิตวิทยาอุสาหกรรมและองค์การ โดยมีค่าเทอมอยู่ที่ 12,900 บาทต่อภาคการศึกษา

ดูรายละเอียดทั้งหมด : http://psy.soc.ku.ac.th/

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะมนุษยศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาจิตวิทยาคลินิก และสาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มีค่าเล่าเรียนอยู่ที่ 15,000 บาทต่อเทอม

ดูรายละเอียดทั้งหมด : www.human.cmu.ac.th

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คณะมนุษยศาสตร์ สาขาจิตวิทยา มีค่าเทอมอยู่ที่ 15,000 บาทต่อภาคการศึกษา และจิตวิทยาและการแนะแนว 20,000 บาท มีค่าเทอมอยู่ที่ 20,000 บาทต่อภาคการศึกษา

ดูรายละเอียดทั้งหมด : www.swu.ac.th

มหาวิทยาลัยศิลปากร

คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา มีอัตราค่าเล่าเรียนอยู่ที่ 15,300 บาทต่อเทอม

ดูรายละเอียดทั้งหมด : www.su.ac.th

มหาวิทยาลัยบูรพา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา มีอัตราค่าเล่าเรียนอยู่ที่ 5,900 บาทต่อเทอม

ดูรายละเอียดทั้งหมด : www.huso.buu.ac.th

มหาวิทยาลัยนเรศวร

คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา มีค่าเล่าเรียนอยู่ที่ 16,100 บาทต่อภาคการศึกษา

ดูรายละเอียดทั้งหมด : www.socsci.nu.ac.th

ค่าเทอม สาขาด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา แบ่งออกเป็น 2 วิชาเอก ได้แก่ วิชาเอกจิตวิทยาการปรึกษา และวิชาเอกจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ โดยมีค่าเล่าเรียนอยู่ที่ 3,750 บาทต่อเทอม

ดูรายละเอียดทั้งหมด : www.edu.ru.ac.th

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว มีอัตราค่าเล่าเรียนอยู่ที่ 13,000 บาทต่อเทอม

ดูรายละเอียดทั้งหมด : https://edu.msu.ac.th/

มหาวิทยาลัยพายัพ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา แบ่งออกเป็น 3 วิชาเอก ได้แก่ วิชาเอกจิตวิทยาพัฒนาการ วิชาเอกจิตวิทยาการให้การปรึกษาและแนะแนว และวิชาเอกจิตวิทยาสังคม มีอัตราค่าเล่าเรียนอยู่ที่ 35,000 บาทต่อเทอม

ดูรายละเอียดทั้งหมด : www.payap.ac.th

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คณะศึกษาศาสตร์ (วิทยาเขตปัตตานี) สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว มีธรรมเนียมการศึกษาอยู่ที่ 16,000 บาทต่อเทอม

ดูรายละเอียดทั้งหมด : http://eduit.pn.psu.ac.th/

วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

คณะจิตวิทยา แบ่งออกเป็น 3 สาขา ได้แก่ สาขาจิตวิทยาคลีนิก สาขาจิตวิทยาการการปรึกษา และสาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มีค่าเรียนอยู่ที่ 43,700 บาท

ดูรายละเอียดทั้งหมด : http://psy.slc.ac.th/

** ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมการศึกษา หรือค่าเทอมในแต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยเป็นคนกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษาในแต่ละภาคการศึกษา/ปีการศึกษา ดังนั้นน้อง ๆ ควรเข้าไปดูรายละเอียดค่าเทอมก่อนสมัครเรียนได้ที่เว็บไซต์ของคณะในแต่ละมหาวิทยาลัยก่อนสมัครกันด้วยนะคะ จะได้ไม่พลาดกันนะจ๊ะ

จบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง? 

  • นักจิตวิทยาตามโรงพยาบาลต่าง ๆ
  • ผู้ช่วยแพทย์ในการตรวจสอบอาการทางจิต
  • อาจารย์แนะแนวประจำในโรงเรียนต่าง ๆ
  • นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมในบริษัททั้งรัฐบาลและเอกชน
  • งานบริการมนุษย์และสังคม เช่น แนะแนวในสถานศึกษา นักจิตวิทยาการปรึกษา นักจิตวิทยาบำบัด นักกระตุ้นพัฒนาการ ฯลฯ

บทความที่น่าสนใจ