materials science คณะน่าเรียน มหาวิทยาลัย วัสดุศาสตร์ สาขาน่าเรียน

วัสดุศาสตร์ สาขาน่าเรียนของเด็กสายวิทย์ ที่หลงรักในงานด้านวิจัยและพัฒนา

Home / ข่าวการศึกษา / วัสดุศาสตร์ สาขาน่าเรียนของเด็กสายวิทย์ ที่หลงรักในงานด้านวิจัยและพัฒนา

วัสดุศาสตร์ (materials science) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติต่าง ๆ ของวัสดุและกระบวนการที่เกี่ยวข้อง โดยการอาศัยความรู้หลากหลายสาขาวิชาเข้ามาช่วยในกระบวนการเรียนรู้ เช่น เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา ธรณีวิทยา และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น เป็นการมุ่งเน้นการเรียนไปที่คุณสมบัติสำคัญของวัสดุในสภาวะที่เป็นของแข็ง เช่น โครงสร้าง ระดับอะตอมหรือโมเลกุลของวัสดุ คุณสมบัติทางอิเล็กทรอนิกส์ การนำความร้อน คุณสมบัติทางเคมี คุณสมบัติทางแม่เหล็กไฟฟ้า ฯลฯ

วัสดุศาสตร์ สาขาของนักวิจัยและพัฒนา

วัสดุศาสตร์เรียนเกี่ยวกับอะไร?

วัสดุศาสตร์ คือวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวัสดุชนิดต่าง ๆ เช่น โลหะและโลหะผสม เซรามิกและแก้ว พอลิเมอร์และสิ่งทอ รวมไปถึงวัสดุประกอบ (composite material) ประเภทต่าง ๆ ซึ่งจะเริ่มจะศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมวัตถุดิบ กระบวนการขึ้นรูป ตลอดจนคุณสมบัติและการใช้งานของวัสดุที่ถูกผลิตขึ้นมา

จึงถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสาขาวิชาที่น่าเรียนและมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะสิ่งของและเครื่องมือต่าง ๆ ที่มนุษย์ได้ผลิตขึ้นมาใช้นั้น ล้วนแต่ทำมาจากวัสดุประเภทต่าง ๆ ดังนั้นการพัฒนาด้านวัสดุศาสตร์จึงเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอื่น ๆ ยิ่งมนุษย์พัฒนาเทคโนโลยีให้มีความก้าวหน้ามากเท่าใด ก็ยิ่งทำให้การคิดค้นวัสดุใหม่ ๆ ให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมง่ายต่อการใช้งาน

วัสดุศาสตร์ เรียนจบมาแล้วทำงานอะไรได้บ้าง

คุณสมบัติของผู้เรียน

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจจะเข้าศึกษาต่อทางด้านวัสดุศาสตร์ ควรเป็นผู้ที่มีความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาวิชาฟิสิกส์และเคมี ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนทางด้านวัสดุศาสตร์

เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา

  • GPAX 20%
  • O-NET 30%
  • GAT 10%
  • PAT1 (คณิตศาสตร์) 10%
  • PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

  1. คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาวัสดุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2.  คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  3. คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  4. คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  5. คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวัสดุศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  6. คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวัสดุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  7. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวัสดุศาสตร์ (ภาควิชาฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
  8. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาวัสดุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  9.  คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีวัสดุ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  10. คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องมือและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  11. คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

วัสดุศาสตร์ เรียนจบมาแล้วทำงานอะไรได้บ้าง

เรียนจบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง?

1. งานในภาคอุตสาหกรรม 

  • ฝ่ายผลิต (Production) ควบคุม ดูแล ปรับปรุงแก้ไขในกระบวนการผลิตและเครื่องจักร เช่น วิศวกรการผลิต/ควบคุมคุณภาพ ผู้ควบคุมการผลิต เป็นต้น
  • ฝ่ายควบคุมการผลิต (QA) หาสาเหตุต่าง ๆ และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในการผลิต โดยระบบควบคุมคุณภาพ และวิธีการวิเคราะห์ทางสถิติ รักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สม่ำเสมอ เช่น พนักงานควบคุมและตรวจสอบการผลิต เป็นต้น
  • ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D) พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ลดต้นทุนการผลิต ถ่ายทอดเทคโนโลยีจากการซื้อ KNOW-HOW เช่น นักเคมีวิเคราะห์ นักเคมี เจ้าหน้าที่วิจัยและพัฒนา เป็นต้น

2. งานด้านวิจัยและการรับราชการ 

  • การเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ของรัฐ ตลอดจนเป็นนักวิชาการ/นักวิจัยให้กับหน่วยงาน หรือองค์กรต่าง ๆ เช่น ศูนย์โลหะและวัสดุแห่งชาติ สถาบันวิจัยและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ศูนย์นาโนและเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นต้น

ข้อมูลจาก : sci.rmutp.ac.th, material.chula.ac.th, materials.mju.ac.th, mat.sci.ku.ac.th

บทความที่น่าสนใจ