คณะน่าเรียน จบแล้วทำงานอะไร มหาวิทยาลัย โลจิสติกส์

โลจิสติกส์ ไม่ได้เรียนเกี่ยวกับ การขนส่งเพียง อย่างเดียว | จบแล้วทำงานอะไร?

Home / ข่าวการศึกษา / โลจิสติกส์ ไม่ได้เรียนเกี่ยวกับ การขนส่งเพียง อย่างเดียว | จบแล้วทำงานอะไร?

โลจิสติกส์ หรือ ลอจิสติกส์ (logistics) อีกหนึ่งสาขาวิชาที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน โดยมีความเกี่ยวข้องกับการจัดระบบการขนส่ง หรือ การเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ทั้งภาคพื้นดิน ทางอากาศ และทางเรือ นอกจากนี้ยังรวมถึง ข้อมูล และทรัพยากรอย่างอื่น ที่ทำการขนย้ายตั้งแต่ต้นทางไปยังจุดหมายปลายทางตามความต้องการของลูกค้า

สาขาน่าเรียน โลจิสติกส์ เรียนที่ไหนดี?

ซึ่งสาขาวิชาด้านโลจิสติกส์นั้นไม่ได้เรียนรู้เฉพาะเรื่องการขนส่งเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกระบวนการ วิธีการ การวางแผนสินค้าคลคลัง การจัดเก็บ ควบคุม การบริหารธุรกิจ และความเข้าใจเกี่ยวกับการเงิน การตลาดเบื้องต้นในการทำธุรกิจ อีกด้วย

สำหรับน้อง ๆ ที่เข้ามาเรียนในสาขาวิชาด้านโลจิสติกส์ ในปี 1 น้อง ๆ จะต้องวิชาหลักที่คล้าย ๆ กันก็คือ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิชาพื้นฐานทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นวิชาด้านธุรกิจ การบริหารจัดการ วิชาการตลาด การเงิน ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ (แคลคูลัส สถิติ) และมนุษยศาสตร์ ฯลฯ

โลจิสติกส์

และในปีต่อ ๆ มาก็ได้เรียนรู้วิชาเฉพาะด้านมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น วิชาด้านการขนส่งสินค้าและการกระจายสินค้าไปยังตลาด เรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุและการบรรจุภัณฑ์ เรียนรู้วิธีการจัดการการทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนอุปสงค์และสินค้าคงคลัง การจัดการโซ่อุปทานเชิงกลยุทธ์ เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโลจิสติกส์ การค้าการจัดการ ฯลฯ

หลังจากนั้นน้อง ๆ ก็จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับโลจิสติกส์มากขึ้น โดยในบางมหาวิทยาลัยก็จะมีการให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ออกไปฝึกงานจริงในโรงงานหรือบริษัท หรือบางมหาวิทยาลัยก็จะมีการฝึกแบบสหกิจศึกษาด้วย

โลจิสติกส์ กับศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

โลจิสติกส์ มีศาสตร์แขนงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ศาสตร์ด้วยกัน ได้แก่

1. ด้านวิศวกรรมศาสตร์

โดยในส่วนของวิศวกรรมศาสตร์ มีสาขาวิชาที่มีความเกี่ยวข้องคือ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering) และสาขาวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering) โดยในสาขาวิชาเหล่านี้จะเรียนรู้ถึงวิธีการเคลื่อนที่ย้ายสินค้าเป็นหลัก เพื่อให้การขนส่งสินค้านั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิง หรือเวลาในการขนส่งให้น้อยที่สุด

2. ด้านบริหารธุรกิจ

สำหรับสาขาด้านบริหารธุรกิจจะเน้นมองในเรื่องของการขนส่งระหว่างประเทศ โดยจะพิจารณาจากภาษี กฎหมาย ค่าระวาง นโยบาย หรือยุทธศาสตร์ทางด้านโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศและเรื่องการค้าระหว่างประเทศ เพื่อนำมาประกอบการวางแผนขนส่งสินค้าไปยังประเทศต่าง ๆ

3. ด้านการจัดการสารสนเทศ

ส่วนในด้านการจัดการสารสนเทศ จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ software และ hardware ที่นำมาควบรวมกันเป็น solution หรือ บริการ ที่จะช่วยทำให้การดำเนินการทางโลจิสติกส์มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ใช้เวลาในการดำเนินงานให้น้อยมากที่สุด

ติวเข้ม แคลคูลัส Part 5 : The Last Part

Link : https://seeme.me/ch/pparkmathacademy/MzR7dM?pl=yad0Mz

เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาเข้าเรียนต่อ …

ระบบรับตรง (ทั่วประเทศ)

  • กำลังศึกษา หรือสำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 แผนการเรียนวิทย์-คณิตฯ, ศิลป์-คำนวณ
  • มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 หรือ 6 เทอม
  • ต้องมีผลคะแนน GAT/PAT1 (คณิตศาสตร์), PAT2 (วิทยาศาสตร์)

ระบบแอดมิชชัน

แผนการเรียนวิทย์-คณิตฯ 

  • GPAX 20%
  • O-NET 30%
  • GAT 10%
  • PAT1 (คณิตศาสตร์) 10%
  • PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%

แผนการเรียนศิลป์-คำนวณ

  • GPAX 20%
  • O-NET 30%
  • GAT 30%
  • PAT1 (คณิตศาสตร์) 20%

** ทั้งนี้เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ อาจจะมีความแตกต่างกันออกไป (นี่เป็นเพียงเกณฑ์พิจารณาคราว ๆ เท่านั้น) ดังนั้นน้อง ๆ ควรที่จะต้องเข้าไปศึกษาข้อมูลในเว็บของมหาวิทยาลัยที่ต้องการเข้าศึกษาให้ดีเสียก่อนทำการสมัครจริงค่ะ

โลจิสติกส์

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

  • คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา Link : คลิกที่นี่
  • วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม Link : คลิกที่นี่
  • ภาควิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร Link : คลิกที่นี่
  • สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต Link : คลิกที่นี่
  • สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ Link : คลิกที่นี่
  • สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย Link : คลิกที่นี่
  • สาขาการจัดการโลจิสติกส์ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี Link : คลิกที่นี่
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก Link : คลิกที่นี่
  • หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี Link : คลิกที่นี่
  • สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา Link : คลิกที่นี่
  • สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง Link : คลิกที่นี่
  • สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน โครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง Link : คลิกที่นี่
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร Link : คลิกที่นี่
  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศโลจิสติกส์และการขนส่ง คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Link : คลิกที่นี่
  • สาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง ภาควิชาพาณิชยศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Link : คลิกที่นี่

โลจิสติกส์

คุณสมบัติที่ดีของผู้ที่ทำงานด้านโลจิสติกส์

  1. ต้องมีความรู้ หรือเรียนจบมาทางด้านโลจิสติกส์ (Logistics)
  2. ต้องมีระเบียบและมีความละเอียดรอบคอบในการทำงาน
  3. ทำงานด้วยความซื่อสัตย์และปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด
  4. สามารถทำงานเป็นกะหรือทำงานล่วงเวลาได้
  5. มีความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษที่สามารถนำมาใช้ในการทำงานได้
  6. ต้องมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ เพื่อการจัดการระบบโลจิสติกส์ได้
  7. สามารถทำงานเป็นทีมได้ เป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตามในบางโอกาส

จบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง?

  1. ฝ่ายจัดซื้อ
  2. ฝ่ายผลิต
  3. ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า
  4. ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ
  5. ฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์
  6. ฝ่ายการขนส่ง
  7. นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  8. นักวางแผน วัตถุดิบ การผลิต หรือการกระจายสินค้า
  9. นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ
  10. ทำธุรกิจส่วนตัว เช่น นำเข้าและส่งออก ผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ ตัวแทนขนส่งทางบก ทางทะเล หรือทางอากาศ ฯลฯ
  11. ทำงานสายวิชาการ เช่น นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ ฯลฯ
  12. รับราชการ เช่น กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี กรมประมง กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีwww.u-review.in.th

โลจิสติกส์
Asian businessman and Asian secretary working with container Cargo freight ship in shipyard for Logistic Import Export background

บทความที่น่าสนใจ