sut ความเชื่อ เรื่องน่ารู้

เรื่องที่หลายคนอาจจะไม่เคยรู้ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.)

Home / เรื่องเล่ามหาวิทยาลัย / เรื่องที่หลายคนอาจจะไม่เคยรู้ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 และตอนนี้มหาวิทยาลัยสุรนารียังถูกจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ศักยภาพทางด้านวิชาการติด 1 ใน 10 ของโลกอีกด้วยนะ แต่เรื่องน่ารู้ของที่นี้ยังไม่หมดแค่นี้นะ ยังมีเรื่องราวต่างๆ ให้เราได้รู้กันอีกหลายเรื่อง… มาอ่านกันเลย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หรือ มทส.

1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตั้งอยู่โคราช หรือ จ.นครราชสีมา

2. หลายๆ คนชอบคิดว่าเป็นวิทยาลัยเทคนิค เนื่องจากในชื่อมีคำว่า ‘เทคโน’ รวมอยู่ด้วย ช่วงก่อตั้งมหาวิทยาลัยช่วงแรกๆ จดหมายจะถูกส่งไปยังเทคโนสุรนารี อยู่ใกล้สี่แยกอัมพวัน

3. เปิดมา 22 ปี แต่มีนักศึกษา 19 รุ่น… เตรียมพร้อมก่อน 3 ปี

4. มีพื้นที่มากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศ (7,200 ไร่) รองจาก ม.วลัยลักษ์ ม.แม่ฟ้าหลวง และ ม.เกษตร กำแพงแสน แต่บางตึกที่จอดรถไม่พอ

5. กองบินมักมาฝึกบินเหนือน่านฟ้า มทส. (โดยเฉพาะช่วงสอบและเช้าที่เราต้องการพักผ่อนหลังจากไม่ได้นอนทั้งคืน!)

6. ห้องเรียนมีแอร์ทุกห้อง และมักจะเย็นเกินไป เย็นขนาดเขียนข้อสอบไม่ออก ต้องขอให้ผู้คุมสอบปิดแอร์กันมาแล้ว

7. อากาศที่นี่จะร้อนมากในหน้าร้อน และหนาวจัด ลมแรงในหน้าหนาว และจะหนาวมากๆ ไม่เกิน 2 สัปดาห์ ฉะนั้นเด็ก มทส. มักจะสวมแจ็กเก็ตตัวโต กันร้อนนอกห้องเรียน และกันหนาวในห้องเรียน

8. ชอบเรียกห้องเรียนเป็นตัวเลข เช่นห้องพันห้า (มี 1,500 ที่นั่ง, บรรยากาศเหมือนโรงหนัง, แต่ตอนนี้เปลี่ยนเก้าอี้ใหม่ เป็น 1560 ตัวแต่ก็ยังเรียกห้อง1500 อยู่ดี) แล้วก็ห้อง 300 ห้อง 600 ด้วย

9. อ่างสามแสน คืออ่างน้ำที่มีขนาดสามแสนลูกบาศก์เมตร แม้ปัจจุบันจะเพิ่มขนาดเป็นสามล้านลูกบาศก์เมตร แต่คนก็ยังเรียกสระสามแสน และตอนนี้มีถนนสำหรับวิ่งออกกำลังกายรอบสระ

10. มีสถานที่ที่เรียกว่า หัวใจ มทส. อยากรู้คืออะไรต้องถามเด็ก มทส. เองเลยจ้า

11. ห้องสมุดหรืออาคารบรรณสารต้องใช้บาร์โค้ดที่บัตรนักศึกษารูดเข้าเพื่อใช้บริการ (ปัจจุบันใช้ระบบ RFID วิทยุคลื่นสั้นโดยเลือกใช้ Barcode หรือ เอาบัตรผ่านหน้าเครื่องได้)

12. จะส่งการบ้านต้องติดบาร์โค้ดเพื่อสะดวกในการตรวจ

13. คะแนนสอบบางวิชาออกประมาณ 2 ชัวโมงหลังสอบเสร็จ

14. วิชาเรียนคอมพิวเตอร์ทุกชั้นปีมีอัตราส่วนคอมพิวเตอร์ต่อนักศึกษา 1:1

15. หอสัญลักษณ์ของ มทส. หรือ หอสุรนภา หรือ หอดอกบัว แต่นักศึกษามักเรียก หอแห้ว สูง 82 เมตร เท่ากับตึก 25 ชั้น เป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา หน้าที่หลักเอาไว้ชมวิว

16.ห้องน้ำหรูที่สุด แห้ง สะอาด มีทิชชู เพราะมีแม่บ้านคอยทำความสะอาดอยู่ตลอดเวลา

17. มทส. อยู่ไกลจากตัวเมืองถึง 20 กิโล มีรถสองแถวสาย 17 มทส. – บขส ใหม่ และรถสองแถว 1 สาย วิ่งเข้าออกตั้งแต่ 07.00-20.00 น.

18. มีรถเมล์ภายใน วิ่งรับ-ส่ง นักศึกษาฟรี และมีรถตู้เข้ากรุงเทพตลอด

19.ทางเดินระหว่างตัวตึกมี Cover way ตลอดเส้นทางเดิน มีเลนสำหรับจักรยานโดยเฉพาะ โดยเป็นสถานที่ซ้อมแข่ง และสถานที่แข่งขันจักรยาน

20. เมื่อก่อนที่นี่นักศึกษาทุกสาขาเรียนรวมกัน อยู่ในตึกเดียวกัน ไม่มีการแยกตึกคณะ อาจารย์ก็อยู่ตึกเดียวกัน แต่ปัจจุบันมีตึกเรียนรวม 2 แห่ง และมีตึกอาจารย์ 2 แห่ง แต่ส่วนใหญ่ก็คงวนเวียนอยู่ด้วยกันเพราะตึกอยู่ใกล้ๆ กัน

21. ตึกที่เรียกว่าอาคารเรียนรวม เรียนทุกสาขาโดยส่วนใหญ่จะมีแต่วิศวะ แต่สังเกตเห็นได้ว่ามีรอยร้าวอยู่เต็มไปหมด

22. มีโรงอาหารใกล้หอ 4 นักศึกษาเรียนกันว่า กาสะลองคำ

23. กาสะลองคำมีทุกอย่าง ช่วงใกล้สอบนักศึกษาชอบไปที่นั่น (บางครั้งอาจมีแนวข้อสอบมาวางที่ร้านถ่ายเอกสาร)

24. นักศึกษาสามารถเรียนได้จนเต็มอายุขัย (8 ปี) และก็มีให้เห็นอยู่บ่อยๆ (หลักสูตรใหม่ 2554 ให้ 12 ปี)

25. ที่นี่ทำตามกฎ ขี่มอเตอร์ไซค์ ไม่สวมหมวกกันน็อค ไม่ให้เข้า-ออก มหา’ลัย จึงเห็นนักศึกษาพากันเดิน หรือ จูงมอเตอร์ไซค์ ผ่านหน้าป้อมยามอยู่บ่อยๆ

26. รปภ.ที่นี่ จะตะเบ๊ะ ให้แต่คนที่ขับรถยนต์เท่านั้น แม้ว่าจะเป็นนักศึกษาก็ตาม ส่วนอาจารย์ที่ขี่มอเตอร์ไซค์หรือปั่นจักรยานก็หมดสิทธิ์

27. สมัยก่อนชุด รปภ. จะเป็นเสื้อสีฟ้า กางเกงสีดำ แต่ปัจจุบัน แต่ตัวสีกากี วันแรกที่เปลี่ยนเครื่องแบบ คนในมหาวิทยาลัยนึกว่าเป็นทหารญี่ปุ่น

28. ขับรถหรือขี่มอเตอร์ไซค์ที่นี่ต้องระวัง ไม่งั้นรถของท่านอาจเสียศูนย์ได้ เพราะมีลูกระนาด อยู่เป็นระยะๆ (เยอะโคตรๆ)

29. แปลกแต่จริง ที่นี่หอพักหญิง มีโถฉี่ของผู้ชายด้วยนะ จะบอกให้ เพราะเคยเป็นหอชายช่วงปี 2537 – 2538

30. ชื่ออาคารสถานที่ล้วนแต่มี “สุร” นำหน้า นัยว่าเพื่อความน้ำหนึ่งอันเดียวกันกับชื่อมหา’ลัย เป็นต้นว่า

  • สุรนภา คือ ชื่อหอสัญลักษณ์ของมหา’ลัย หอที่ตั้งใจออกแบบเป็นรูปดอกบัวตูม ข้างในมีลิฟท์และบันไดประมาณ 200 กว่าขั้นสำหรับให้ขึ้นไปชมทัศนียภาพรอบๆ มหา’ลัย นักศึกษาให้ฉายาว่า หอแห้ว (เป็นหอที่สูง แต่สร้างในหลุม)
  • สุรสัมนาคาร คือ ชื่อโรงแรมหรู กี่ดาวไม่รู้ แต่คืนละ 800 บาท หนึ่งในกิจการของมหา’ลัย นักศึกษาและบุคคลากรแสดงบัตร 700 บาท นะ
  • สุรนิทัศน์ คือ ชื่อเวทีแสดงดนตรีกลางแจ้ง เด็กมอเรียกแอมฟิ หรือ แอมฟิเธียเตอร์ ความจุประมาณ 4000 แต่ถ้าอัดกันจริงๆ 7000 ก็ไหว Silly Fools, Bodyslam, Big Ass , Plammy, Endorphine ต่างก็เคยมาเหยียบเวทีนี้มาแล้ว
  • สุรพัฒน์ คือ ชื่ออาคารเอนกประสงค์ขนาดยักษ์ มีหลายหลัง สุรพัฒน์ 1 มีศูนย์หนังสือจุฬาฯ 7-eleven ธนาคาร, สุรพัฒน์ 2 ใช้ตอนรับปริญญาและรับน้องใหม่, สุรพัฒน์ 3 มีศูนย์ซินโครตรอน
  • สุรวิถี คือ ชื่อถนนในมหา’ลัย เส้นที่ตัดผ่านหน้าองค์การนักศึกษาไปยังสระสามแสน นิยมใช้สัญจรไปส่องสัตว์ยามค่ำคืน
  • สุรนิเวศ คือ ชื่อหอพักนักศึกษา เรียกย่อๆ ว่า S โดย S1-6 เป็นหอหญิงห้องน้ำรวม S7-12 เป็นหอชายห้องน้ำรวม S13, S14, S15
  • สุขนิวาส เป็นชื่อบ้านพักสำหรับอาจารย์และบุคลากร เรียกย่อว่าอาคาร R มีตั้งแต่ R1 – R8
  • สุรสวัสดิ์ คือ ชื่อหมู่บ้านเอกชนข้างนอกมหา’ลัย คำ “สุร” ไม่เกี่ยวกับนโยบายมหา’ลัย แต่เข้าใจว่าแอบเนียน เรียกเต็มปากได้ว่าเป็น สุรนิเวศแหล่งที่ 2

31. หอพัก เก่ากึก ดึกดำบรรพ์ ตั้งกะรุ่น 1 มีสองหอที่เป็น ตำนาน คือ อนุบาล1 และ อนุบาล2 ตรงข้าม กะ หอ พัก หญิง S1 ปัจจุบัน ทั้งสองอาคารใช้เป็นหอพักชั่วคราวในปี 2537 ตรงกับรุ่นที่สองของมหาวิทยาลัย รุ่นนี้เลยถูกเรียกว่ารุ่นอนุบาล กลายเป็นอะไรไม่รู้แล้ว ปัจจุบันกลายเป็นสำนักงานของฝ่ายอาคารสถานที่

32. ทางโค้งก่อนถึง หอ อนุบาล 1 เรียก โค้ง ดาวพระศุกร์ เนื่องจาก นักศึกษา รุ่น1 ขับมอไซค์ แหกโค้ง ตรงนั้นเพื่อให้ทันดูละครเรื่อง ดาว พระศุกร์
เรียก “คณะ” ว่า “สำนัก” และเรียก “ภาค” ว่า “สาขา”

33. ในระดับปริญญาตรีมีเปิดสอน 5 สำนัก คือ สำนักวิศวะกรรมศาสตร์, สำนักเทคโนโลยีเกษตร, สำนักเทคโนโลยีสังคม สำนักแพทยศาสตร์ และสำนักวิทยาศาสตร์ (สำหรับพี่ๆ ที่จบไปแล้ว น้องๆ รหัส 49 มีสาขาวิทย์กีฬาระดับปริญญาตรี ปี 2555 เพิ่มหลักสูตรก้าวหน้าวิทยาศาสตร์หลายสาขา สังกัดสำนักวิดยานะคะ ^^) **เพิ่มเติม ตั้งแต่ 2552 มี 6 สำนักวิชา เพิ่มสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์

34. ทางเข้ามหาลัยอย่างเป็นทางการมี 3 ประตู ส่วนประตูที่ 4 สามารถใช้บริการได้เหมือนกัน อยู่ข้างหลังหอชาย (ประตู 4 ยกระดับเป็นประตูแล้วแต่ปิดเที่ยงคืน เปิด 4.00 น มีป้อมยาม แต่ยามมักไม่เข้าไปอยู่ในป้อม)

35. ทางเข้ามหาลัยประตู 3 เมื่อเข้ามาทางซ้ายมือจะมีโรงไฟฟ้ามทส.ซินโครตรอนตั้งอยู่

36. ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ต้นปีบทอง แต่เนื่องจากมีต้นมันสำปะหลังอยู่รอบมหาวิทยาลัยจำนวนมาก จึงมีคนบอกว่าต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยคือ “ต้นมันสำปะหลัง”

37. ปกติหมวกกันน็อกมีไว้ให้ใส่เพื่อความปลอดภัย แต่เด็ก มทส. ใส่เพื่อกัน รปภ. เพราะมหาลัยมีนโยบายให้ใส่หมวกเวลาขับขี่รถจักรยานยนต์ จึงเปลี่ยนชื่อจากหมวกกันน็อกเป็นหมวกกัน รปภ.

38. เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2553 มทส. มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์มีสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย อาทิเช่น หอประวัติ มทส. ซึ่งตั้งอยู่อาคารบรรณสาร มีศูนย์การเรียนรู้สิรินธร ประกอบไปด้วย เมืองจราจรจำลอง อาคารกาญจนาภิเษก หอประวัติและจดหมายเหตุ หอสุรนภา พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีไทยโบราณ สวนผีเสื้อ หอดูดาวส่วนภูมิภาค และฟาร์มมหาวิทยาลัย

39. มทส. เป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนปริญญาตรีแล้วมีอาจารย์จบปริญญาเอกมากที่สุดในประเทศ มากถึงร้อยละ 70 (อัพเดตปี 2555 ร้อยละ 80) และอาจารย์ส่วนใหญ่ที่จบ ดร. มักมีหน้าเด็กกว่านักศึกษา มีเรื่องเล่าว่ามีอาจารย์สวมเสื้อเชิ้ตขาวแฝงตัวอยู่ในหมู่นักศึกษาในรายวิชาพื้นฐาน แล้วนักศึกษาไม่สามารถหาตัวได้ว่าคนไหนคืออาจารย์

40. มทส. เป็นมหาวิทยาลัยรัฐที่ให้เงินเดือนอาจารย์สูงที่สุดในประเทศ แต่อาจารย์ชอบซื้อข้าวแกงกิน

42. คนที่ใส่กางเกงยีสน์เก่าเสื้อม่อเก่าๆ อาจจะเป็นถึง ศ. รศ. หรือ ดร. ก็ได้

43. มทส. ได้ก้าวสู่การเป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีอายุน้อยกว่าเพื่อนในบรรดามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติด้วยกัน

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย

44. อาคารส่วนกิจการนักศึกษา, ลานสัญลักษณ์สถาน (ลานย่าโม) และ หอสัญลักษณ์สุรนภา สร้างอยู่ในระนาบเส้นตรงเดียวกันในแนวเหนือใต้
ในขณะที่ เสาธงชาติเสาเอก, ลานสัญลักษณ์ และอาคารบรรณาสาร อยู่ในระนาบเส้นตรงเดียวกันในแนวออกตก

45. ก่อน พ.ศ. 2545 มหา’ลัย มีอัตราการตกออก (Drop-out) สูงที่สุดในประเทศ คือประมาณ 40% (ปัจจุบันตกออกประมาณ 1 ใน 4) สมมติเข้ามาปีหนึ่ง 1000 พอขึ้นปีสองจะเหลือ 600 ซึ่งในปี 2, 3, 4 ก็จะทยอยตกออกกันไปอีกเรื่อยๆ จนจบปีสี่จะมีคนจบการศึกษาประมาณ 300 พวกที่เหลือก็หวังว่า ปี5-ปี8 คงมีสักปีที่จะจบ

46. ปีการศึกษานึงจะแบ่งออกเป็น 3 ภาคการศึกษา โดยปิดเทอมย่อย (ภาคการศึกษาที่ 1 และ 2)15 วัน และปิดเทอมใหญ่ (ภาคการศึกษาที่ 3) 45 วัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา มีการปรับเกณฑ์ตกออกใหม่ คือจาก 2.00 เป็น 1.80 ทำให้อัตราการตกออกลดลง แต่ก็ยังมีใ้ห้เห็นเป็นเรื่องปกติ>>> ปรับเกณฑ์ตกออกใหม่ เป็น 1.50 ปรับ รอพินิจน์ <1.80 รอพินิจน์ 3 ครังตกออกอัตโนมัติ

47. ห้องพักหอใน (สุรนิเวศ) ว่ากันว่าเป็นห้องพักหอในที่กว้างที่สุดในประเทศ (จากปากคำของเด็กซิ่วทั้งหลาย) ก่อนพ.ศ. 2548 แต่ละห้องอยู่กัน 3 คน อุปกรณ์มี 3 เตียงเดี่ยว, 3 ตู้เสื้อผ้า, 3 ตู้เก็บหนังสือ, 3 โต๊ะอ่านหนังสือ แต่ก็ยังเหลือพื้นที่กลางห้องให้กินอาหารเย็นร่วมกันทุกวัน หรือตั้งวงได้เป็นบางโอกาส

48. สมาชิก 3 คนที่ว่า ประกอบไปด้วย พี่ปีสองขึ้นไป 2 คน และน้องปีหนึ่ง 1 คน คำเรียกหาเป็น พี่เมท, น้องเมท บรรยากาศอบอุ่นน่ารักมาก ยกเว้นแต่ว่าได้พี่เมทขี้เมา หรือที่ซวยกว่าคือได้พี่เมท 2 คนที่เป็นกระเทย ยกเว้นแต่ว่าถ้าคุณเป็นกระเทยด้วย

49. หอพักทุกห้องมีโทรศัพท์ด้วยนะ

50. ตั้งแต่พ.ศ. 2548 นักศึกษาที่สมัครโควต้ามีจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ ทำให้หอพักไม่เพียงพอ จึงมีนโยบายให้พักห้องละ 4 คน (ปัจจุบัน ห้องละ 3 คน สำหรับหอห้องน้ำในตัว และ 3-4 คน สำหรับหอห้องน้ำรวม)

51. มทส. เคยประสบปัญหาแหล่งน้ำแห้ง ถึงขั้นประกาศให้เปิดน้ำใช้ภายในหอพักได้ในช่วงเวลา 05.00 – 22.00 น. นอกเหนือเวลานั้น ก็หาถังเล็กมาตักน้ำในถังใหญ่ไปใช้เอง (ดีนะที่แม่บ้านเปิดน้ำทิ้งไว้ในถัง ไม่งั้นห้องน้ำ….หึ่งแน่) << ปัจจุบันมีการสนับสนุนการใช้น้ำที่ดีพอสมควร

52. ปี 2547 มหา’ลัย เป็นเจ้าภาพกีฬามหา’ลัยแห่งประเทศไทย ชื่อ “สุรนารีเกมส์” ภาษาอังกฤษเขีียนว่า Sura Naree Games ซึ่งเป็นความสนใจหลัก 3 ประการของบรรดานักศึกษาชายที่นี่

53. มทส. มีจัดประกวดแบบเดียวกับ AF / The Star โดยมีชื่อการประกวดว่า SUT DREAM CHALLENGER มีผู้สนใจล้นหลาม ที่สำคัญมีกรรมการมาจาก tuneclub ใน bloggang ของ pantip.com ด้วย
ชมรมอนุรักษ์สภาพแวดล้อม จะมีประเพณีโยนพี่บัณฑิตลงน้ำบริเวณสระน้ำพุข้างหอสุรนภาทุกๆ วันรับปริญญา ช่วงหลังๆ จะเห็นมีบางชมรมและ นศ.บางกลุ่มเริ่มทำตาม ผมก็คนนึงที่เคยตกน้ำด้วยประเพณีนี้

54. งานรับปริญญาแต่ละปี สาขาวิชาต่างๆ จะจัดซุ้มยิ่งกว่ามหากรรมพืชสวนโลก ไม่เชื่อลองไปดูได้

55. ชมรมที่มีสมาชิกเยอะสุดน่าจะเป็นชมรมยานยนต์ เพราะพี่สาขาเกณฑ์น้องในสาขาที่เป็นเครือข่ายเดียวกันมาเข้าชมรม

56. วิศวะที่หน้าตาดีที่สุดฝ่ายชายน่าจะเป็นวิศวะคอม ส่วนฝ่ายหญิงน่าจะเป็นเด็กอุตสาห์ฯ ไม่เชื่อก็ไปพิสูจน์กันดู

57. สาขาที่โหดๆ หล่อและเท่ในแบบเซอร์ๆ จะนึกถึงสาขาแรกคือ วิศวกรรมโลหการ แต่ในสาขาเค้าก็รักกันมากนะ แบบว่าใครแตะต้องพี่น้องกูมึงตายว่างั้น และที่สำคัญมีพลังอันเต็มเปี่ยมแบบไร้ผู้ใดเทียมได้

58. วิศวะเครื่องกล จะมีประชากรมากสุด เพราะมี หลักสูตรแยกออกไปคือ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมการผลิต วิศวกรรมยานยนต์ และน้องใหม่คือ วิศวกรรมอากาศยาน

59. สาขาที่มีคนเรียนจบ 4 ปี น้อยที่สุดน่าจะเป็นวิศวกรรมเคมี (ทั้งวิชาที่เรียนและอาจารย์โหดพอกัน)

60. งานลอยกระทงส่วนใหญ่เด็กไอทีจะได้ชนะเลิศประเภทขบวน (ที่มีคอนเซ็ปท์เดียวตลอดปีคือ ธรรมะ กับ อธรรม) ส่วนสา’สุข จะได้ชนะเลิศประเภทกระทงใหญ๋ (อันเนื่องมาจากการให้น้องปี 1 ในสาขา เย็บแบบอย่างน้อยคนละอัน แล้วแต่ฝีมือ ทำให้ใหญ่ไว้ก่อน ลอยได้ไม่ได้ค่อยไปลุ้นกันในสระน้ำพุอีกที)

61. สมัยก่อนผู้หญิง มทส. จะขึ้นชื่อว่า สวย ถึก และบึกบึน ปัจจุบันก็ยังคงเป็นเช่นนั้นอยู่ จะเห็นได้จากงานลอยกระทง ที่ให้ผู้หญิงไปฟันต้นกล้วยแล้วแบกมาให้พวกผู้ชายที่กำลังนั่งเย็บแบบทำกระทงกัน

62. สโมสรเทคโนโลยีสุรนารี เป็นองค์กรของบุคลากร มีชมรมเช่นเดียวกับนักศึกษา

63. กีฬาที่สร้างชื่อให้กับมหาวิทยาลัยในช่วงที่ผ่านมาก็คือ เรือพาย (ได้เหรียญทองกีฬามหาลัยมา 3 ปีแล้ว) วอลเล่ย์บอลชายหาดหญิง (ชนะทีมชาติด้วย)ตะกร้อหญิง (ถึงจะตัวเล็กแต่ก็ใจใหญ่) หมากล้อม (เหรียญทองเหรียญแรกในประวัติศาสตร์) หมากกระดาน (เล่นแล้วใช้เวลานานจริงๆ) เทควันโด (เริ่มมาแรงหลังจากก่อตั้งมา6ปี) อื่นๆ กำลังทยอยเก็บเหรียญกันอยู่

64. จุดที่อันตรายที่สุดในในมหาลัย คือ ประตู่ 1 ถึงขนาดต้องระดม รปภ.มาดูแล5-6 คน และต้องใส่หมวกกันน็อคทุกครั้งที่ผ่าน เพื่อไม่ให้เกิดเหตุร้ายแรงกับนักศึกษา นักศึกษาบางส่วนถึงขนาดต้องลงเดินผ่านจุดนี้ทีเดียว

65. หอพัก S2 แต่ก่อนเป็นหอรวม อย่าเข้าใจผิด ผู้ชายชั้น 2 ผู้หญิงชั้น 3 และก็มีทางขึ้นคนละทาง ไปหากันไม่ได้

66. หอชายเกือบทุกหอ มีการตี Dot-a กันทั้งวันทั้งคืนเลยทีเดียว ไม่รู้จะบ้ากันไปถึงไหน

67. รับปริญา มทส. รุ่น 13 ปีการศึกษา 2548 เป็นปีแรกที่สมเด็จพระเทพฯ มาพระราชทานปริญญาบัตรช่วงบ่าย และเปนปีแรกที่มีการบูม แล้วแดด ไม่ร้อน เพราะ ค่ำแล้ว และรุ่นที่ 16 ปีการศึกษา2551 ก็เช่นกัน

68. มทส. มีบูมมหาวิทยาลัยวงใหญ่ที่สุดในโลก นักศึกษาทั้งมหาวิทยาลัยร่วมใจบูมให้กับพี่บัณฑิตทุกคน (เริ่มมีมาตั้งแต่ปีบทองช่อที่ 12)

ที่มา จากไร้สาระนุกรม (อัพเดทข้อมูลล่าสุดวันที่ 10 เมษายน 2558)

บทความแนะนำ