คณะ มสธ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วิชา สาขา

ม.สุโขทัยธรรมาธิราช เปิดสอนคณะและสาขาวิชาอะไรบ้าง ? มสธ.

Home / มุมต่างๆ มหาวิทยาลัย / ม.สุโขทัยธรรมาธิราช เปิดสอนคณะและสาขาวิชาอะไรบ้าง ? มสธ.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดตั้งขึ้นเพื่อขยายและกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่ประชาชน มีลักษณะเป็นมหาวิทยาลัยในระบบเปิด ซึ่งไม่มีชั้นเรียนตามปรกติเหมือนมหาวิทยาลัยทั่วไป ดำเนินการดำเนินการสอนโดยใช้ระบบการสอนทางไกล  ซึ่งจัดการเรียนการสอนโดยเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากเอกสารชุดวิชาจากสื่อสารสนเทศต่าง ๆ ที่ทางมหาวิทยาลัยจัดไว้ให้นักศึกษา เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่อต่าง ๆ เป็นต้น อ่านบทความ มสธ. เปิดสอนคณะและสาขาวิชาอะไรบ้าง ?

มสธ. เปิดสอนคณะและสาขาวิชาอะไรบ้าง ?

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีแบบมหาวิทยาลัยเปิดโดยรับนักศึกษาไม่จำกัดจำนวน ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเปิดการศึกษาถึงระดับดุษฎีบัณฑิตในบางสาขาวิชาโดยมีการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาเหมือนมหาวิทยาลัยปิดทั่วไป โดยสาขาวิชาที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีมี 11 สาขาวิชา ดังนี้

สาขาวิชาศิลปศาสตร์

หลักสูตรระดับปริญญาตรีและต่ำกว่าระดับปริญญาตรี

ระดับปริญญาตรี
1.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาไทยคดีศึกษา

2.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ ประกอบด้วย 2 วิชาเอก คือ
– วิชาเอกสารสนเทศทั่วไป
– วิชาเอกสารสนเทศสำนักงาน

3.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาภาษาอังกฤษ

ระดับประกาศนียบัตร
1.หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาศึกษาทั่วไป

2.หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาภาษาอังกฤษเฉพาะอาชีพ ประกอบด้วย 10 กลุ่มวิชาเฉพาะ คือ
– กลุ่มวิชาเฉพาะธุรกิจ
– กลุ่มวิชาเฉพาะการท่องเที่ยว
– กลุ่มวิชาเฉพาะการโรงแรม
– กลุ่มวิชาเฉพาะงานสำนักงาน
– กลุ่มวิชาเฉพาะคอมพิวเตอร์
– กลุ่มวิชาเฉพาะการสาธารณสุข
– กลุ่มวิชาเฉพาะช่าง
– กลุ่มวิชาเฉพาะการเกษตร
– กลุ่มวิชาเฉพาะครู
– กลุ่มวิชาเฉพาะฎหมาย

3.หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชางานสารสนเทศ ประกอบด้วย 2 กลุ่มวิชา คือ
– กลุ่มวิชางานสารสนเทศทั่วไป
– กลุ่มวิชางานสารสนเทศสำนักงาน

4.หลักสูตรประกาศนียบัตรภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร

สาขาวิชาศึกษาศาสตร์

หลักสูตรระดับปริญญาตรีและต่ำกว่าระดับปริญญาตรี

ระดับปริญญาตรี

1.หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต ซึ่งประกอบด้วย 4 วิชาเอก คือ
– วิชาเอกการวัดและประเมินผลการศึกษา
– วิชาเอกการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
– วิชาเอกการศึกษานอกระบบ
– วิชาเอกเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
2.หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกปฐมวัยศึกษา

ระดับประกาศนียบัตร

1.หลักสูตรประกาศนียบัตรนวัตกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัย

2.หลักสูตรประกาศนียบัตรการพัฒนาสุขภาวะเด็กปฐมวัยแบบองค์รวม

สาขาวิชาวิทยาการจัดการ

หลักสูตรระดับปริญญาตรี
มีหลักสูตร 2 ระดับ 4 หลักสูตร คือ

ระดับปริญญาตรีต่อเนื่อง

1.หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต แขนงวิชาการจัดการงานก่อสร้าง วิชาเอกการจัดการงานก่อสร้าง

ระดับปริญญาตรี

1.หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ประกอบด้วย 4 วิชาเอก คือ
– วิชาเอกการจัดการ
– วิชาเอกการเงิน
– วิชาเอกการตลาด
– วิชาเอกการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม

2.หลักสูตรบัญชีบัณฑิต

3.หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชานิติศาสตร์

หลักสูตรระดับปริญญาตรีและต่ำกว่าระดับปริญญาตรี

มีหลักสูตร 2 ระดับ 3 หลักสูตร คือ

ระดับปริญญาตรี

1.หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต

ระดับประกาศนียบัตร

1.หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้นำชุมชน (1 ปี)
2.หลักสูตรประกาศนียบัตรกฎหมายการที่ดินและทรัพย์สิน (2 ปี)

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

หลักสูตรระดับปริญญาตรี มีหลักสูตร 1 ระดับ 3 หลักสูตร คือ
1. หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สำหรับนักศึกษาภาคต้น ปีการศึกษา 2560
2. หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต วิชาเอกสาธารณสุขชุมชน สำหรับนักศึกษาภาคปลาย ปีการศึกษา 2560 เป็นต้นไป
3. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
4. หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต

สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์

หลักสูตรระดับปริญญาตรี มีหลักสูตร 1 ระดับ 1 หลักสูตร คือ
1. หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต ประกอบด้วย 2 วิชาเอก คือ
– วิชาเอกเศรษฐศาสตร์
– วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ

สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์

หลักสูตรระดับปริญญาตรีมีหลักสูตร 1 ระดับ 2 หลักสูตร คือ

1.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกอาหาร โภชนาการและการประยุกต์
2.หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต วิชาเอกพัฒนาการมนุษย์และครอบครัว

สาขาวิชารัฐศาสตร์

หลักสูตรระดับปริญญาตรี มีหลักสูตร 1 ระดับ 2 หลักสูตร คือ

1.หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต แชนงวิชาการเมืองการปกครอง
2.หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์

หลักสูตรระดับปริญญาตรี มีหลักสูตร 1 ระดับ 3 หลักสูตร คือ

1.หลักสูตรเกษตรศาสตรบัณฑิต วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

2.หลักสูตรเกษตรศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาการจัดการการเกษตร ประกอบด้วย 4 วิชาเอก คือ
– วิชาเอกการจัดการทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม
– วิชาเอกการจัดการการผลิตพืช
– วิชาเอกการจัดการการผลิตสัตว์
– วิชาเอกธุรกิจการเกษตร

3.หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต แขนงวิชาสหกรณ์

สาขาวิชานิเทศศาสตร์

หลักสูตรระดับปริญญาตรีและต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
มีหลักสูตร 2 ระดับ 3 หลักสูตร คือ

ระดับปริญญาตรี
1.หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต ประกอบด้วย 7 กลุ่มวิชา คือ
– กลุ่มวิชาวารสารศาสตร์
– กลุ่มวิชาวิทยุกระจายเสียง
– กลุ่มวิชาโทรทัศน์
– กลุ่มวิชาภาพยนตร์
– กลุ่มวิชาการโฆษณา
– กลุ่มวิชาการประชาสัมพันธ์
– กลุ่มวิชาการสื่อสารชุมชน

ระดับประกาศนียบัตร
1.หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพนิเทศศาสตร์ ประกอบด้วย 6 กลุ่มวิชา คือ
– กลุ่มวิชาสื่อสิ่งพิมพ์
– กลุ่มวิชาวิทยุกระจายเสียง
– กลุ่มวิชาโทรทัศน์
– กลุ่มวิชาภาพยนตร์
– กลุ่มวิชาการโฆษณา
– กลุ่มวิชาการประชาสัมพันธ์
2.หลักสูตรประกาศนียบัตรการสื่อสารชุมชน

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หลักสูตรระดับปริญญาตรี มีหลักสูตร 1 ระดับ 2 หลักสูตร คือ

1.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบด้วย 2 วิชาเอก คือ
– วิชาเอกการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
– วิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์

2.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 2 วิชาเอก คือ
– วิชาเอกเทคโนโลยีการผลิตอุตสาหกรรม
– วิชาเอกเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์

มสธ https://www.stou.ac.th

บทความแนะนำ