คณะน่าเรียน คณะสัตวแพทยศาสตร์ จบแล้วทำงานอะไร แนะแนวการศึกษา

คณะสัตวแพทยศาสตร์ อยากเรียนต่อต้องทำอย่างไร ? รายชื่อสถาบันที่เปิดสอน

Home / ข่าวการศึกษา / คณะสัตวแพทยศาสตร์ อยากเรียนต่อต้องทำอย่างไร ? รายชื่อสถาบันที่เปิดสอน

เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนจะต้องมีคณะและอาชีพในฝันที่อยากจะทำกันในอนาคตอย่างแน่นอน และหนึ่งในคณะ/อาชีพในฝันที่อยู่ในลิสต์อันดับต้น ๆ ที่น้อง ๆ หลายคนก็คงหนีไม่พ้น การเป็นคุณหมอดูแลสัตว์ หรือสัตวแพทย์ นั่นเอง แต่น้อง ๆ รู้กันหรือไม่ว่าการเข้าศึกษาต่อ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จะต้องใช้คะแนนอะไรบ้าง และเมื่อเข้าไปเรียนแล้วเราจะต้องเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

อยากเรียน คณะสัตวแพทยศาสตร์ ต้องทำอย่างไร?

ในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ ก็ได้รวบรวมข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับการเรียนด้านสัตวแพทยศาสตร์มาฝากกันด้วยค่ะ จะมีเรื่องอะไรบ้างที่น้อง ๆ ควรรู้ ตามมาดูกันได้เลย…

บทความเพิ่มเติม > กำหนดการ เกณฑ์ที่ใช้คัดเลือก กสพท. ปี 2563 – จำนวนรับรวม 2,650 ที่นั่ง

สัตวแพทยศาสตร์

คณะสัตวแพทยศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับอะไร?

โดยคณะสัตวแพทยศาสตร์ จะศึกษาเกี่ยวกับทักษะและความรู้ในการดูแลสุขภาพของสัตว์ การบำบัดรักษาโรคของสัตว์ประเภทต่าง ๆ และยังรวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ โดยผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านนี้จะได้รับวุฒิการศึกษาเป็น สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต ออกไปเป็นหมอรักษาสัตว์ หรือสัตวแพทย์ ที่สามารถวิเคราะห์ วินิจฉัย ชันสูตร ตลอดจนสามารถบำบัด รักษา และป้องกันโรคต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับสัตว์ได้

ทั้งนี้เรายังจะได้เรียนรู้วิธีการเพิ่ทผลผลิตด้านปศุสัตว์ การขยายพันธุ์สัตว์ การเลี้ยง และบำรุงพันธุ์สัตว์ ส่วนในด้านสารธารณสุขก็ต้องเรียนรู้วิธีการควบคุมโรคของสัตว์ที่อาจจะติดต่อมาถึงมนุษย์ได้ รวมถึงด้านสุขศาสตร์อาหาร และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์อีกด้วย

สาขาวิชาที่เปิดสอน

สาขาวิชาที่เปิดสอนในคณะสัตวแพทยศาสตร์ อาทิ กายวิภาคศาสตร์, จุลชีววิทยา, สรีรวิทยา, เภสัชวิทยา, พยาธิวิทยา, ปรสิตวิทยา, เวชศาสตร์คลินิกสัตว์เลี้ยง, เวชศาสตร์และทรัพยากรการผลิตสัตว์, เวชศาสตร์คลินิกสัตว์ใหญ่และสัตว์ป่า, สัตวแพทยสาธารณสุขศาสตร์, สัตวบาล, สูติศาสตร์ เธนุเวชวิทยา และวิทยาการสืบพันธุ์สัตว์, ศัลยศาสตร์ และอายุรศาสตร์ ฯลฯ

เรียนกี่ปี แต่ละชั้นปีต้องเรียนอะไรบ้าง?

สำหรับระยะเวลาที่ใช้ในการเรียนคือ 6 ปี แบ่งออกเป็น ชั้นปีที่ 1 – 3 คือ Pre-clinic และชั้นปีที่ 4 – 6 คือ Clinic ซึ่งมีรายละเอียดน่ารู้ ดังต่อไปนี้

ชั้นปีที่ 1 : Pre-clinic จะเรียนวิชาพื้นฐานทั่วไป อาทิ ฟิสิกส์ทางการแพทย์, เคมีทั่วไป, ชีววิทยาทั่วไป และเคมีอินทรีย์ ฯลฯ

ชั้นปีที่ 2 – 3 : Pre-clinic น้อง ๆ จะได้เริ่มเรียนวิชาของคณะสัตวแพทยศาสตร์มากขึ้น โดยในการเรียนจะไม่ได้เรียนเฉพาะวิชาที่เกี่ยวกับการดูแลสุนัขหรือแมวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการดูแล ม้า วัว ปลา ไก่ หมู และสัตว์อื่น ๆ อีกหลายชนิดด้วยกัน ซึ่งวิชาที่น้อง ๆ จะได้เจอ อาทิ จุลกายวิภาควิทยา, หลักสัตวบาล, หลักสรีรวิทยา และอนามัยสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

ชั้นปีที่ 4 – 6 : Clinic จะเริ่มเข้าสู่วิชาที่เกี่ยวกับการรักษามากยิ่งขึ้น ซึ่งน้อง ๆ กำลังจะก้าวไปเป็นว่าที่สัตวแพทย์กันแล้วค่ะ วิชาที่เรียนก็จะเจาะลึกลงไปอีก อาทิ อายุรศาสตร์ตามระบบอวัยวะ, เทคนิคการวินิจฉัยและการรักษาโรคสัตว์, หลักการศัลยศาสตร์และวิสัญญี, เทคโนโลยีชีวภาพทางการสืบพันธุ์ของสัตว์, กฎหมายและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ และสุขศาสตร์อาหาร ฯลฯ

สัตวแพทยศาสตร์

เกณฑ์คะแนน/คุณสมับติที่ใช้ในการสมัคร

  • ต้องสำเร็จการศึกษาระดับชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า ในแผนการเรียนวิทย์-คณิต
  • ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมรวม (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 3.00 (ทั้งนี้คะแนน GPAX แต่ละสถาบันอาจจะมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยกำหนดนะจ๊ะ)
  • มีคะแนนสอบ GAT, PAT2 (วิทยาศาสตร์)
  • มีผลคะแนนสอบ 9 วิชาสามัญ (ไทย สังคม อังกฤษ คณิต1 ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ)
  • มีผลคะแนนสอบ O-NET

** นี่เป็นเพียงเกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกและคุณสมบัติของผู้สมัครในเบื้องต้นเท่านั้นนะจ๊ะ ทั้งนี้ในแต่ละสถาบันการศึกษาอาจจะมีการใช้ผลคะแนนและคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป โดยน้อง ๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์ของแต่ละสถาบันการศึกษาที่ตนเองสนใจศึกษาต่อได้เลยค่ะ

สถาบันการศึกษาที่เปิดสอน อาทิ…

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ฯลฯ

จบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง?

เมื่อน้อง ๆ เรียนจบแล้วสามารถเลือกประกอบอาชีพได้ทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชน อาทิ หน่วยงานรัฐ ได้แก่ กรมปศุสัตว์, กรมประมง และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ฯลฯ ส่วนหน่วยงานเอกชน สามารถประกอบอาชีพในธุรกิจด้านอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ การผลิตอาหารสัตว์ และธุรกิจฟาร์มสัตว์ต่าง ๆ และยังรวมถึงการเป็นสัตวแพทย์ในคลินิกหรือโรงพยาบาลรักษาสัตว์ก็ได้อีกด้วย เป็นต้น

อ้างอิงข้อมูลจาก : www.dek-d.com, www.u-review.in.th

บทความที่น่าสนใจ